บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบเจตคติต่อการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้โดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการร่วมกับเทคนิค ซี.ไอ.อาร์.ซี. (CIRC) กับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการเรียนรู้โดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการร่วมกับเทคนิค ซี.ไอ.อาร์.ซี. (CIRC) ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการเรียนรู้โดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการร่วมกับเทคนิค ซี.ไอ.อาร์.ซี. (CIRC) ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการเรียนรู้โดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการร่วมกับเทคนิค ซี.ไอ.อาร์.ซี. (CIRC) ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 5) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่าน ความสามารถในการเขียน และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ระหว่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีระดับความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ต่างกัน เมื่อได้รับการสอนด้วยรูปแบบการเรียนรู้โดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการร่วมกับเทคนิค ซี.ไอ.อาร์.ซี. (CIRC) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโพนวัฒนาวิทยา ศูนย์เครือข่ายโพนสามัคคี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 34 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้โดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการร่วมกับเทคนิค ซี.ไอ.อาร์.ซี. (CIRC) 2) แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ของกรมสุขภาพจิต 3) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาไทย 5) แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนภาษาไทย 6) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t–test for Dependent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณร่วมทางเดียว (One–way MANCOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว (One–way ANCOVA)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. เจตคติต่อการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการเรียนรู้โดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการร่วมกับเทคนิค ซี.ไอ.อาร์.ซี. (CIRC) อยู่ในระดับมากขึ้นไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการเรียนรู้โดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการร่วมกับเทคนิค ซี.ไอ.อาร์.ซี. (CIRC) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการเรียนรู้โดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการร่วมกับเทคนิค ซี.ไอ.อาร์.ซี. (CIRC) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการเรียนรู้โดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการร่วมกับเทคนิค ซี.ไอ.อาร์.ซี. (CIRC) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. ความสามารถในการอ่านของนักเรียนที่มีระดับความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ต่างกัน เมื่อได้รับการสอนด้วยรูปแบบการเรียนรู้โดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการร่วมกับเทคนิค ซี.ไอ.อาร์.ซี. (CIRC) ไม่มีความแตกต่างกัน
6. ความสามารถในการเขียน และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่มีระดับความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ต่างกันเมื่อได้รับการสอนด้วยรูปแบบการเรียนรู้โดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการร่วมกับเทคนิค ซี.ไอ.อาร์.ซี. (CIRC) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract
The purposes of this study were to 1) compare Prathom Suksa 3 students’ attitudes toward the Learning Substance of Thai after learning with the learning model based on faith building and resonant thinking–Yonisomanasikan in conjunction with CIRC Technique with the criteria set, 2) compare Prathom Suksa 3 students’ reading abilities between before and after being taught with the learning model based on faith building and resonant thinking–Yonisomanasikan in cooperation with CIRC Technique, 3) compare Prathom Suksa 3 students’ writing abilities between before and after being taught with the learning model based on faith building and resonant thinking–Yonisomanasikan in association with CIRC Technique, 4) compare Prathom Suksa 3 students’ analytical thinking abilities between before and after being taught with the learning model based on faith building and resonant thinking–Yonisomanasikan in collaboration with CIRC Technique, 5) compare the reading abilities, writing abilities, and analytical thinking abilities between Prathom Suksa 3 students with different levels of emotional quotient (EQ) taught by the learning model based on faith building and resonant thinking–Yonisomanasikan along with CIRC Technique. The research samples consisted of 34 students of Prathom Suksa 3 in the second semester of 2011 academic year at Ban Phon Watthana Witthaya School under the Office of Phon Samakkhee Educational Network Center collected by purposive sampling technique. The instruments used were composed of : 1) The lesson plans along with the learning model based on faith building and resonant thinking–Yonisomanasikan together with CIRC Technique, 2) The Department of Mental Health’s emotional quotient (EQ) evaluation form, 3) The questionnaire to measure the students’ attitudes toward the Learning Substance of Thai, 4) A test for measurement of the reading abilities of Thai, 5) A test to measure Thai writing abilities, and 6) A test for measurement of analytical thinking abilities. The data were statistically analyzed using mean, standard deviation, t–test (Dependent Samples), One–way MANCOVA, and One–way ANCOVA.
The findings of this study were as follows :
1. The attitudes toward the Learning Substance of Thai of Prathom Suksa 3 students who were taught by the learning model based on faith building and resonant thinking–Yonisomanasikan in conjunction with CIRC Technique were high at the .01 level of significance.
2. The reading abilities of Prathom Suksa 3 students taught by the learning model based on faith building and resonant thinking–Yonisomanasikan in association with CIRC Technique were higher on the reading abilities in the posttest scores than those in the pretest at the .01 level of significance.
3. There was a significant difference in the writing abilities of Prathom Suksa 3 students who were taught by the learning model based on faith building and resonant thinking–Yonisomanasikan in cooperation with CIRC Technique which were higher on the writing abilities in the posttest scores than those in the pretest at the .01 level.
4. The analytical thinking abilities of Prathom Suksa 3 students taught by the learning model based on faith building and resonant thinking–Yonisomanasikan in collaboration with CIRC Technique were higher in the posttest scores than those in the pretest at the .01 level of significance.
5. The reading abilities of the students with different levels of emotional quotient (EQ) who were taught by the learning model based on faith building and resonant thinking–Yonisomanasikan along with CIRC Technique showed no significant differences.
6. The writing abilities and analytical thinking abilities of the students with different levels of emotional quotient (EQ) who were taught by the learning model based on faith building and resonant thinking–Yonisomanasikan along with CIRC Technique were statistically different at the .05 level.
กำลังออนไลน์: 52
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,364
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,353
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033