...
...
เผยแพร่: 31 ธ.ค. 2556
หน้า: 1-14
ประเภท: บทความวิจัย
View: 165
Download: 129
Download PDF
การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และความพึงพอใจต่อการเรียน โดยใช้คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ รูปแบบ STAD ร่วมกับการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาตำบลหนองสนม
The Development of Abilities to Solve the Mathematical Achievement and Satisfaction Using the Manual for Stad Cooperative Learning in Conjunction with Creative Problem Solving of Prathom Suksa 1 Students Under the Office of Nong Sanom Educational Networ
ผู้แต่ง
ดวงสมร เหลาราชม, หาญชัย อัมภาผล, กาญจนา วงษ์สวัสดิ์
Author
Duangsamon Laorach, Hanchai Umphapol, Kanjana Vongsawat

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านน้ำบุ้น 2) ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านน้ำบุ้น 3) ติดตามและประเมินผลการพัฒนาคู่มือการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ร่วมกับการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ 4) ติดตามและประเมินผลการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และความพึงพอใจต่อการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ร่วมกับการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านน้ำบุ้น ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาตำบลหนองสนม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 18 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ร่วมกับการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ 4) แบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาประสิทธิภาพของคู่มือการจัดการเรียนรู้ E1/E2 ค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I.) วิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว (One-way ANCOVA) และสถิติทดสอบค่าที t-test for Dependent Samples)

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. สภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านน้ำบุ้น มีดังนี้

1.1 ปัญหาจากนักเรียน 

1.2 ปัญหาจากครู 

1.3 ปัญหาด้านเนื้อหาการเรียนรู้

2. แนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านน้ำบุ้น มีดังนี้

2.1 ปัญหาจากนักเรียน แก้ไขโดยการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้โดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง

2.2 ปัญหาจากครู แก้ไขโดยการจัดการเรียนรู้อย่างหลากหลาย เปิดโอกาสให้นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อน ซักถามครู

2.3 ปัญหาด้านเนื้อหาการเรียนรู้ แก้ไขโดยใช้คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ร่วมกับการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ เรื่อง การบวกและการลบ จำนวนที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1

3. ผลการพัฒนาคู่มือการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ร่วมกับการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ มีดังนี้

3.1 ประสิทธิภาพของคู่มือการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ร่วมกับการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 75.96/76.11

3.2 ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้โดยใช้คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ร่วมกับการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ มีค่าเท่ากับ 0.68 หรือคิดเป็นร้อยละ 68

4. ผลการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และความพึงพอใจต่อ การเรียน ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ร่วมกับการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์

4.1 ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนที่เรียนโดยใช้คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ร่วมกับการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ร่วมกับการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4.3 ความพึงพอใจต่อการเรียนโดยภาพรวมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านน้ำบุ้น ที่เรียนโดยใช้คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ร่วมกับการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ อยู่ในระดับมาก

Abstract

This study aimed to 1) investigate states and problems of implementing learning management of mathematics for Prathom Suksa 1 Students at Ban Nam Bun School, 2) investigate the guidelines to solve the problems of learning mathematics for Prathom Suksa 1 Students at Ban Nam Bun School, 3) monitor and evaluate the development of the manual for STAD Cooperative Learning in conjunction with Creative Problem Solving, 4) monitor and evaluate the development abilities to solve the mathematical achievement and satisfaction of the students taught by using the manual for STAD Cooperative Learning in conjunction with Creative Problem Solving. The samples consisted of 18 Prathom Suksa 1 students in the second semester of 2011 academic year at Ban Nam Bun School under the Office of Nong Sanom Educational Network Center collected by Cluster Random Sampling Technique. The tools used in this study were composed of : 1) the manual for STAD Cooperative Learning in conjunction with Creative Problem Solving, 2) a test of the abilities to solve problems, 3) a test of mathematical achievement, 4) a test to measure satisfaction toward learning. Data were statistically analyzed using percentage, mean and standard deviation, Effectiveness Index (Effectiveness Index: E.I.), One-Way Analysis of Covariance and t-test (Dependent Samples).

The findings of this study were as follows :

1. The states and problems of teaching mathematics for Prathom Suksa 1 Students at Ban Nam Bun included:

1.1 problems on the student.

1.2 the problems on the teachers.

1.3 the problems on the contents of learning.

2. The guidelines to solve the problems of learning mathematics for Prathom Suksa 1 Students at Ban Nam Bun School could be concluded :

2.1 The problems on the students could be solved by modifying the methods of teaching based on the learner-centered approach.

2.2 The problems on the teachers could be solved through using a variety of teaching methods. In addition, opportunities were allowed for the students to ask questions exchange ideas with their fellows/classmates as well as teachers and.

2.3 The problems on the contents of learning could be solved by using the manual for STAD Cooperative Learning in cooperation with Creative Problem Solving titled “Addition and Subtraction” with an amount of the solution and augend/minuend not over 20 for Prathom Suksa 1 students.

3. The implementation of the development of the manual for STAD Cooperative Learning in association with Creative Problem Solving comprised :

3.1 The efficiency of the manual for STAD Cooperative Learning in association with Creative Problem Solving obtained efficiency of 75.96/76.11.

3.2 Effectiveness Index of learning efficiency using the manual for STAD Cooperative Learning in collaboration with Creative Problem Solving was 0.68 or higher to 68 percent.

4. The implementation of the development abilities to solve the mathematical achievement and satisfaction of the students taught by using the manual for STAD Cooperative Learning in conjunction with Creative Problem Solving.

4.1 The students’ abilities to solve the problems, after learning, using the manual for STAD Cooperative Learning in cooperation with Creative Problem Solving were higher than prior to learning at the .05 level of significance.

4.2 After learning, the students’ achievements in learning mathematics using the manual for STAD Cooperative Learning in conjunction with Creative Problem Solving were higher than before learning at the .05 level of significance.

4.3 The students’ satisfaction, as a whole, in Prathom Suksa 1 at Ban Nam Bun School employing the manual for STAD Cooperative Learning in association with Creative Problem Solving was at the high level.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 134

วันนี้: 1,373

เมื่อวานนี้: 471

จำนวนครั้งการเข้าชม: 826,925

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033