บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมรักความเป็นไทยของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้สถานการณ์จำลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัยชาย–หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จำนวน 1 ห้องเรียน ซึ่งเป็นห้องเรียน English Program (EP) จำนวน 16 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองโดยใช้แบบแผนการทดลองชนิด One group pretest-posttest design ผู้วิจัยได้มีการสังเกตพฤติกรรมรักความเป็นไทยของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างก่อนการทดลองเป็นเวลา 1 สัปดาห์ จากนั้นดำเนินการทดลองจัดกิจกรรมเป็นเวลา 9 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 30 นาที หลังการทดลองสังเกตพฤติกรรมต่อเป็นเวลา 1 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมโดยใช้สถานการณ์จำลอง จำนวน 9 หน่วยการเรียนรู้ รวม 36 แผน และแบบสังเกตพฤติกรรมรักความเป็นไทยของเด็กปฐมวัย จำนวน 9 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีชนิดกลุ่มไม่อิสระกัน (Dependent samples t-test) ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมรักความเป็นไทยของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้สถานการณ์จำลองสูงกว่าก่อนการทดลองทั้งโดยภาพรวมและรายด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract
The purpose of this research was to compare the love being Thainess of early childhood children before and after receiving the simulation activities. The sample was 16 male-female early childhood children, aged 4-5 years old, studying in Kindergarten Year 2, semester 2 of the academic year 2020, Buriram Rajabhat University Demonstration School, 1 classroom, which was an English Program (EP) classroom. This research was a quasi-experimental research using a One group pretest-posttest design. Before the experiment, the researcher observed the love being Thainess of early childhood children for 1 week, and then conducted the activities for 9 weeks, 4 days a week, 30 minutes a day. After the experiment, the children’s love being Thainess were observed for 1 week. The research instruments consisted of 36 activity plans using simulations of 9 learning units, and a 9-item form for observing love being Thainessr of early childhood children. The statistics used in the data analysis were mean, standard deviation, and dependent samples t-test. The research results showed that overall and in each aspect, the love being Thainess of early childhood children after receiving the simulation activities was significantly higher than that of before at the .05 level.
คำสำคัญ
สถานการณ์จำลอง, พฤติกรรมรักความเป็นไทย, เด็กปฐมวัยKeyword
Simulation activity, Love being Thainess, Early childhoodกำลังออนไลน์: 35
วันนี้: 362
เมื่อวานนี้: 1,746
จำนวนครั้งการเข้าชม: 970,097
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033