บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการคิดเชิงบริหาร (EF) ของเด็กปฐมวัยก่อนและระหว่างได้รับการจัดกิจกรรมดนตรีกับการเคลื่อนไหวและจังหวะตามแนวคิดของคาร์ล ออร์ฟ และ 2) ศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการคิดเชิงบริหาร (EF) ของเด็กปฐมวัยระหว่างได้รับการจัดกิจกรรมดนตรีกับการเคลื่อนไหวและจังหวะตามแนวคิดของคาร์ลออร์ฟ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุ 5-6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี (ฝ่ายอนุบาล) จำนวน 2 ห้อง รวมทั้งสิ้น 53 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม ได้กลุ่มตัวอย่าง 1 ห้องเรียน คือ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 จำนวน 26 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบกึ่งทดลอง และแบบแผนการทดลองแบบอนุกรมเวลากลุ่มเดียว ระยะเวลาในการทดลอง 9 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน คือ จันทร์ อังคาร พุธ วันละ 40 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมดนตรีกับการเคลื่อนไหวและจังหวะตามแนวคิดของคาร์ล ออร์ฟ และแบบสังเกตการคิดเชิงบริหาร (EF) ของเด็กปฐมวัย มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า การคิดเชิงบริหาร (EF) ของเด็กปฐมวัย ระหว่างได้รับการจัดกิจกรรมดนตรีกับการเคลื่อนไหวและจังหวะตามแนวคิดของคาร์ล ออร์ฟ สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการคิดเชิงบริหาร (EF) ของเด็กปฐมวัย ระหว่างได้รับการจัดกิจกรรมดนตรีกับการเคลื่อนไหวและจังหวะตามแนวคิดของคาร์ล ออร์ฟ มีแนวโน้มสูงขึ้น
Abstract
The purposes of this research were to: 1) compare preschool children’s executive functions before and during the implementation of organizing music with movement and rhythm activities based on Carl Orff’s approach, and 2) study the changing trends of preschool children’s executive functions during the implementation of organizing music with movement and rhythm activities based on Carl Orff’s approach. The population in this research was 53 preschool children, boys and girls from 2 classrooms, aged 5-6 years, studied in Kindergarten 3 in the 2nd semester of the academic year 2020 at Ubon Ratchathani Rajabhat University Demonstration School (Kindergarten Division). The sample was 26 preschool children, studied in Kindergarten 3 room 2, selected from the population using cluster random sampling technique. This research was a quasi-experimental research with one-group time-series design. The experiment took 9 weeks, 3 days a week on Monday, Tuesday and Wednesday, with 40 minutes per day. The research instruments were lesson plans of organizing music with movement and rhythm activities based on Carl Orff’s approach and observation form of preschool children’s executive functions with the reliability of 0.87. The statistics used to analyze the data were mean, standard deviation, and one way repeated measures ANOVA. The research findings revealed that the preschool children’s executive functions during the implementation of organizing music with movement and rhythm activities based on Carl Orff’s approach was higher than before the experiment at the statistical significance level of .05 and the preschool children’s executive functions during the implementation of organizing music with movement and rhythm activities based on Carl Orff’s approach tended to increase.
คำสำคัญ
เด็กปฐมวัย, การคิดเชิงบริหาร, การจัดกิจกรรมดนตรีกับการเคลื่อนไหวและจังหวะตามแนวคิดของคาร์ล ออร์ฟKeyword
Executive functions (EF), Organizing music with movement and rhythm activities based on Carl Orff’s approach, Preschool childrenกำลังออนไลน์: 35
วันนี้: 265
เมื่อวานนี้: 1,746
จำนวนครั้งการเข้าชม: 970,000
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033