...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2565
หน้า: 1-9
ประเภท: บทความวิจัย
View: 89
Download: 53
Download PDF
รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำด้านการศึกษาและการบริหารจัดการเรียนการสอนยุคดิจิทัล : ศึกษาเฉพาะกรณีผู้บริหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
The Development Model of Educational Leadership and Instructional Management in the Digital Era : A Case Study of Admistrators of Mauban Chombueng Rajabhat University
ผู้แต่ง
ประทวน คล้ายศรี, สุวัทนา สงวนรัตน์ และสุรพล ยังวัฒนา
Author
Prathuan Khaisri, Suwattana Sanguanrat and Suraphol Youngwattana

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำด้านการศึกษา และการบริหารจัดเรียนการสอนยุคดิจิทัล : ศึกษาเฉพาะกรณีผู้บริหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารระดับนโยบายด้านการศึกษา นักวิชาการเทคโนโลยีการศึกษา นักวิชาการด้านการพัฒนาบุคลากร และนักวิชาการด้านการประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหาร อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ปีการศึกษา 2563 จำนวน 215 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำด้านการศึกษายุคดิจิทัล สรุปได้ว่า ภาวะผู้นำด้านการศึกษายุคดิจิทัลของผู้บริห่าร ประกอบด้วย 1) มีวิสัยทัศน์ผู้นำ 2) ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร 3) มีความเป็นมืออาชีพ 4) มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา 5) สามารถบูรณาการเทคโนโลยีในการจัดการศึกษา และ 6) สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยการสร้างสังคมแห่งปัญญา ส่วนรูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการเรียนการสอนยุคดิจิทัลของผู้บริหาร สรุปได้ว่า ผู้บริหารต้องกำหนดให้มีการกำกับดูแลในด้านต่าง ๆ ดังนี้ การประยุกต์ใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อบูรณาการในการเรียนการสอนและการประเมินผล การส่งเสริมให้ผู้สอนนำแนวคิดใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้ในห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิผล การสนับสนุนให้การเรียนการสอนสอดคล้องกับปัจจัยภายในและภายนอกสถานศึกษา การนำรูปแบบทางดิจิทัลมาสนับสนุนการเรียนการสอนของผู้สอนและผู้เรียน การประเมินความพร้อมของมหาวิทยาลัยที่ในการนำทักษะทางดิจิทัลมาใช้ และการให้โอกาสผู้สอนได้เรียนรู้ร่วมกันอย่างมืออาชีพในสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยง

Abstract

This research aimed to study the model of educational leadership and instructional management in the digital era : a case study of admistrators of Mauban Chombueng Rajabhat University. The research was a mixed research, it combined qualitative research and quantitative research. The qualitative research used document analysis and in-depth interviews with education policy administrators, educational technology academics, personnel development academics, and educational quality assurance academics, 15 people. The qualitative data were analyzed using content analysis. The data were analyzed by frequency distribution, percentage, mean, and standard deviation. The research findings were as follows. The educational leadership development model in the digital era concluded that educational leadership of the administors in the digital era consisted of 1) having leadership vision, 2) promoting the use of information technology in communication, 3) being professionalism, 4) having knowledge of digital technology for education, 5) be able to integrate technology in educational management, and 6) be able to create new body of knowledge by creating a society of wisdomducational management; and 6) be able to create new knowledge by building an intellectual society. For the development model of instructional management in the digital era of admistrators could be summarized as the administers should require supervision in the following areas: innovative application for integration in instruction and assessment, encouraging teachers to effectively apply new approaches for learning management, promoting for instructional management in accordance with internal and external factors, applying digital models to support learning management of teachers and learners, assessing the readiness of university to adopt digital skills and providing teachers the opportunity to learn together professionally in a risky environment.

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำด้านการศึกษา, การบริหารจัดการเรียนการสอน, ยุคดิจิทัล

Keyword

Educational leadership, Insructional management, Digital era
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 15

วันนี้: 185

เมื่อวานนี้: 442

จำนวนครั้งการเข้าชม: 802,435

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033