...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2565
หน้า: 199-209
ประเภท: บทความวิชาการ
View: 221
Download: 221
Download PDF
นวัตกรรมการจัดกลุ่มเพื่อการเรียนรู้ด้วยสมการ a2=b-c
The Grouping Innovation for Learning by the a2=b-c Equation
ผู้แต่ง
สฤษดิ์ ผาอาจ
Author
Sarit Paarch

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ 1) นวัตกรรมการจัดกลุ่มเพื่อการเรียนรู้ด้วยสมการ a2=b-c และ 2) ประสบการณ์การใช้นวัตกรรมดังกล่าวในวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา นวัตกรรมการจัดกลุ่มเพื่อการเรียนรู้ด้วยสมการ a2=b-c เป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student-centered Learning) โดยจัดแบ่งกลุ่มผู้เรียนด้วยสมการ a2=b-c ซึ่ง a คือ จำนวนกลุ่มซึ่งเท่ากับจำนวนสมาชิกกลุ่ม b คือ จำนวนสมาชิกทั้งหมดของห้องเรียน โดยมีค่าตั้งแต่ a2 ถึง a2 + 2a (a2 ≤ b ≤ a2 + 2a) และ c คือ จำนวนสมาชิกที่เหลือเศษ โดยมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 2a (0 ≤  c ≤ 2a) การจัดแบ่งกลุ่มผู้เรียนเช่นนี้ ทำให้นักศึกษาที่เรียนรายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ได้รับการพัฒนาทักษะการพูด การฟัง การอ่าน การเขียน และได้รับการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง สมาชิกกลุ่มทุกคนได้รับการพัฒนาให้สามารถสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่มแล้วสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ของกลุ่ม หลังจากนั้นนำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนต่างกลุ่ม โดยสมาชิกกลุ่มทุกคนได้เป็นทั้งผู้นำเสนอ ผู้ชม ผู้ประเมิน และได้รับการประเมินด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย

Abstract

This article aims to present 1) the grouping Innovation for learning by the a2=b-c equation and 2) the experience of this innovation usage in Thai for Communication Subject for the Sirindhorn College of Public Health Yala students. The grouping Innovation for learning by the a2=b-c equation is the student-centered learning Innovation. This innovation formed into groups by the equation a2=b-c. The “a” is a number of groups that be equal to amount of group member. The “b” is a number of class population that value at a2 to a2 + 2a (a2 ≤ b ≤ a2 + 2a) and the “c” is the remainder that value at 0 to 2a (0 ≤ c ≤ 2a). This forming group enables students that study Thai for Communication Subject to have been developed their speaking, listening, reading, and writing skills. Also, they have gained authentic assessment. All the group membership are developed for a construction of knowledge and bring that knowledge to exchange within group membership, synthesize to be group knowledge and after that, take it to exchange with the membership of others group. All the group membership performs a precentor, audience, assessor and be assessed by a variety of assessment instruments.

คำสำคัญ

การจัดกลุ่ม, นวัตกรรมการเรียนรู้, การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

Keyword

Grouping, Learning innovation, Student-centered learning
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 30

วันนี้: 374

เมื่อวานนี้: 1,746

จำนวนครั้งการเข้าชม: 970,109

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033