บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะตามสายงานการสอนของพนักงานครูเทศบาล 2) วิเคราะห์สาเหตุของความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะตามสายงานการสอนของพนักงานครูเทศบาล และ 3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะตามสายงานการสอนของพนักงานครูเทศบาล กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย พนักงานครูเทศบาล จำนวน 160 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน ผู้บริหารงานการศึกษา จำนวน 2 คน และศึกษานิเทศก์ จำนวน 1 คน รวมทั้งหมด จำนวน 168 คน ในสังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองชลบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแนวคำถามในการประชุมกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์และผลการจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะตามสายงานการสอนของพนักงานครูเทศบาลในภาพรวมทั้ง 3 สมรรถนะ พบว่า มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ตั้งแต่ 0.19–0.27 โดยลำดับที่ 1 คือ สมรรถนะด้านการออกแบบการเรียนรู้ (PNIModified = 0.27) รองลงมาคือ สมรรถนะด้านการพัฒนาผู้เรียน (PNIModified = 0.21) และสมรรถนะด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน (PNIModified = 0.19) ตามลำดับ 2. สาเหตุของความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะตามสายงานการสอนของพนักงานครูเทศบาล ที่สำคัญที่สุด มีดังนี้ 1) ครูขาดความถนัดและความชำนาญเรื่องการผลิตและใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน และ 2) ครูขาดความตระหนักและขาดการกระตุ้นเกี่ยวกับการสร้างและพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียน 3. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะตามสายงานการสอนของพนักงานครูเทศบาล ที่สำคัญที่สุดมีดังนี้ 1) สำนักการศึกษาควรจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครูเรื่องการผลิตและใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และส่งเสริมให้ผู้อำนวยการสถานศึกษา นิเทศ ติดตาม การใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี และ 2) ผู้อำนวยการสถานศึกษา ควรขับเคลื่อนกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) ให้เกิดขึ้นภายในโรงเรียน เพื่อร่วมกันกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ของผู้เรียน ร่วมกันตรวจสอบ และสะท้อนผลการปฏิบัติงานด้านการจัดการเรียนการสอน
Abstract
The purposes of this research were 1) to assess the need for developing the teaching competencies of teachers 2) to analyze the causes of the need for competency development in teaching, and 3) to examine guidelines for developing teaching competencies of municipal teachers. The samples in this research included 160 municipal teachers, five school administrators, two administrators from the educational division, and an educational supervisor, yielding a total of 168 participants under the Office of Chonburi Municipality Education. The research instruments were a set of questionnaires and focus group questions. The data were analyzed by frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, and the Modified Priority Needs Index technique and content analysis. The results of the research were as follows: 1. The findings of the analysis, as well as a significant rating on the needs assessment for enhancing municipal teachers’ teaching competencies, indicated three teaching competencies of municipal teachers, with the Priority Needs Index ranging from 0.19 to 0.27, with the learning design competency (PNIModified = 0.27), followed by the student development competency (PNIModified = 0.21) and the classroom management competency (PNIModified = 0.19), respectively. 2. The following causes were selected as the most crucial in the need for municipal teachers to improve teaching competencies: 1) Teachers lacked experience in developing and implementing innovative media and technology in teaching and learning, and 2) Teachers lacked awareness and were under-motivated in constructing and developing curriculum that met the needs and potential of learners. 3. The most important guidelines for developing teaching competency consist of 1) The Office of Education should organize a teacher training workshop project on production, use innovative media and technology in organizing teaching and learning activities, and encourage educational institution directors to monitor the use of media, innovation, and technology; and 2) School directors should lead the PLC (Professional Learning Community) process to occur within the schools to jointly define learners' learning goals, as well as verifying and reflecting the performance of teaching and learning management.
คำสำคัญ
การประเมินความต้องการจำเป็น, สมรรถนะตามสายงานการสอนKeyword
Needs Assessment, Teaching Competenciesกำลังออนไลน์: 33
วันนี้: 416
เมื่อวานนี้: 1,746
จำนวนครั้งการเข้าชม: 970,151
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033