...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2565
หน้า: 117-126
ประเภท: บทความวิจัย
View: 264
Download: 228
Download PDF
การพัฒนาโมดูลการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐาน (RBL) เพื่อการเสริมสร้างความรู้และทักษะวิจัยในชั้นเรียนทางการศึกษาพิเศษ สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
Development of Learning Modules Using Research Based Learning to Enhance Special Education Classroom Research Knowledge and Skills for Student Teachers in Sakon Nakhon Rajabhat University
ผู้แต่ง
รัชดาพรรณ อินทรสุขสันติ, อัญชลี สารรัตนะ และจตุภูมิ เขตจัสตุรัส
Author
Ratchadapan Intarasuksanti, Unchalee Sarnrattana and Jatuphum Ketchatturat

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโมดูลการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะวิจัยในชั้นเรียนทางการศึกษาพิเศษ สำหรับนักศึกษาครู ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) ศึกษาผลการใช้โมดูลการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐาน ดำเนินงานวิจัยเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 ยกร่างโมดูลการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐาน และศึกษาประสิทธิภาพโมดูลการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพเครื่องมือ เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 สาขาวิชาการศึกษาพิเศษและภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จำนวน 10 คน ใช้ระยะเวลา 3 เดือน ระยะที่ 2 ศึกษาผลการใช้โมดูลการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐาน โดยนำไปใช้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 สาขาวิชาการศึกษาพิเศษและภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จำนวน 21 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 11 คน และกลุ่มควบคุม 10 คน ใช้ระยะเวลา 3 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดย 1) เปรียบเทียบความรู้วิจัยในชั้นเรียนทางการศึกษาพิเศษของนักศึกษาครูก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยสถิติ The Wilcoxon’s Match Pair Signed Ranks Test และ 2) เปรียบเทียบความรู้และทักษะวิจัยในชั้นเรียนทางการศึกษาพิเศษของนักศึกษาครู ที่เรียนด้วยโมดูลการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐาน และไม่ได้เรียนด้วยโมดูลการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐาน ด้วยสถิติ The Mann–Whitney U Test ผลการวิจัยพบว่า 1) โมดูลการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ 83.38/80.66 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 80/80 2) นักศึกษากลุ่มทดลองที่ใช้โมดูลการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐาน มีความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) นักศึกษากลุ่มทดลองที่ได้เรียนด้วยโมดูลการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับวิจัยชั้นเรียนทางการศึกษาพิเศษสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Abstract

The purposes of this research were: 1) to develop learning modules using research based learning (RBL) to enhance special education classroom research knowledge and skills for student teachers to meet the defined efficiency criteria of 80/80, and 2) to study the results of applying the RBL modules. The study was divided into two phases. Phase 1, drafting the RBL modules and studying their efficiency. The samples used to determine the efficiency of the learning modules were ten 5th year students of Special Education and English major in the second semester of the 2020 academic year, Faculty of Education, Sakon Nakhon Rajabhat University, for a period of 3 months. Phase 2, studying the results of applying the RBL modules. The samples in this phase were twenty-one 2nd year students of Special Education and English major in the second semester of the 2020 academic year, Faculty of Education, Sakon Nakhon Rajabhat University, for a period of 3 months. They were divided into an experimental group of 11 participants and a control group of 10 participants. The collected data were analyzed as follow: 1) comparing the special education classroom research knowledge of the student teachers before and after learning through the RBL modules by using the Wilcoxon’s match pair signed ranks test, and 2) comparing the special education classroom research knowledge and skilsl between the experimental group and the control group by using the Mann-Whitney U test. The findings were as follows: 1) The efficiency of the developed learning modules was 83.38/80.66 which met the specified criteria of 80/80, 2) the knowledge of experimental group students after learned through the RBL modules was higher than that of before at the .01 level of significance, and 3) The knowledge and skills in special education classroom research of the experimental group students after learned through the RBL modules were higher than those of the control group students at the .01 level of significance.

คำสำคัญ

โมดูลการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐาน, ความรู้และทักษะวิจัยในชั้นเรียนทางการศึกษาพิเศษ

Keyword

Research Based Learning Modules, Special Education Classroom Research Knowledge and Skills
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 30

วันนี้: 342

เมื่อวานนี้: 1,746

จำนวนครั้งการเข้าชม: 970,077

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033