...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2565
หน้า: 103-116
ประเภท: บทความวิจัย
View: 104
Download: 113
Download PDF
การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เรื่องสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์จากดินญี่ปุ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Development of science activity packages on creating invention from air dry clay for 9th grade students
ผู้แต่ง
น้ำฝน คูเจริญไพศาล, รวิวรรณ แก้วละเอียด, นิโรบล เหล่ากอ และพัณณิตา ฉัตร์สงวนชัย
Author
Numphon Koocharoenpisal, Rawiwan Kaewlaead, Nirobon Lhaokor and Phannita Chatsanguanchai

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เรื่องสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์จากดินญี่ปุ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และประเมินคุณภาพชุดกิจกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญ 2) ศึกษาผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เรื่องสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์จากดินญี่ปุ่น และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เรื่องสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์จากดินญี่ปุ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 ห้อง มีนักเรียนจำนวน 35 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เรื่องสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์จากดินญี่ปุ่น 2) แบบประเมินคุณภาพชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยผู้เชี่ยวชาญ 3) แบบประเมินผลงานการสร้างสิ่งประดิษฐ์จากดินญี่ปุ่น และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ฯ ชุดกิจกรรมที่สร้างมี 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 การทำดินญี่ปุ่น กิจกรรมที่ 2 ออกแบบสิ่งประดิษฐ์จากดินญี่ปุ่น และกิจกรรมที่ 3 สร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์จากดินญี่ปุ่น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีชนิดกลุ่มเดียวเทียบกับเกณฑ์ (One sample t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินคุณภาพของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมากที่สุด (\bar{x}= 4.92, S.D. = 0.10) 2) ผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ฯ ได้คะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 83.02 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่กำหนดไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด (\bar{x}= 4.65, S.D. = 0.35)

Abstract

The purposes of this research were to 1) develop the science activity packages on creating invention from air dry clay for 9th grade students and assess the quality of the science activity packages by experts, 2) study learning outcomes of 9th grade students after learning through the activity packages, and 3) study the students’ satisfaction toward learning. The sample group was one classroom of 9th grade students (N=35) selected by purposive sampling. The research tools consisted of: 1) the science activity packages on creating invention from air dry clay, 2) the assessment form for the quality of the science activity packages, 3) the assessment form for the creation of air dry clay artifacts, and 4) the satisfaction questionnaire. The science activity packages consisted of 3 activities: 1) making an air dry clay, 2) designing invention from air dry clay, and 3) creating invention from air dry clay. This research is a quasi-experimental research. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and one sample t-test. The results showed that: 1) the quality of the science activity packages assessed by the experts was very good level (\bar{x}= 4.92, S.D. = 0.10), 2) the average score of the students' learning outcomes was at 83.02%, which was higher than the 70 percent threshold at the statistically significant .01 level, and 3) the students’ satisfaction toward the learning was very good level (\bar{x}= 4.65, S.D. = 0.35).

คำสำคัญ

ดินญี่ปุ่น, ผลการเรียนรู้, ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์

Keyword

Air dry clay, Learning outcome, Science activity packages
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 4

วันนี้: 31

เมื่อวานนี้: 282

จำนวนครั้งการเข้าชม: 784,706

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033