...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2565
หน้า: 33-43
ประเภท: บทความวิจัย
View: 119
Download: 61
Download PDF
ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL กับการจัดการเรียนรู้แบบวิธีปกติ
Comparative Effects of Mathematical Problem–Solving Ability on the Topic of Application for Prathomsuksa 6 Students Using STAD Cooperative Learning Management Integrated with KWDL Technique and a Conventional Teaching Method
ผู้แต่ง
นันทิกานต์ บุญลี, ธนานันต์ กุลไพรบุตร และสำราญ กำจัดภัย
Author
Nantikan Boonlee, Thananan Kunpaibutr and Sumran Gumjudpai

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลอง ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์หลังเรียนของนักเรียน ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม 3) เปรียบเทียบเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลองระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) เปรียบเทียบเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์หลังเรียนของนักเรียน ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนการกุศลวัดบูรพา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสกลนคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 2 ห้องเรียน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและ กลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL กลุ่มควบคุมเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวิธีปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL แผนการจัดการเรียนรู้แบบวิธีปกติ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ และแบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการทดลองแบบ Randomized Pretest-Posttest Control Group Design สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ชนิด Dependent samples t-test และชนิด Independent samples t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลอง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์หลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลอง  สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) เจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลอง  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) เจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์หลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลอง สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Abstract

The purposes of this research were to: 1) compare mathematical problem-solving ability of the experimental group students before and after learning mathematics through the STAD cooperative learning management combined with the KWDL technique, 2) compare the mathematical problem-solving ability after the intervention between the experimental group students and the control group students, 3) compare attitudes toward mathematics subject of the experimental group students before and after the intervention, and 4) compare attitudes toward mathematics subject after the intervention between the experimental group students and the control group students. The sample groups, obtained through cluster random sampling, consisted of two classes of Prathomsuksa 6 students at Wat Burapa Charity School under Sakon Nakhon Provincial Education Office in the second semester of the 2019 academic year. The experimental group students learned through the STAD cooperative learning management combined with the KWDL technique, and the control group students learned through a conventional teaching method. The research instruments comprised two types of lesson plans based on STAD cooperative learning management combined with the KWDL technique, and lesson plans based on a conventional approach, a learning achievement test to measure mathematical problem-solving ability, and a set of questionnaires on students’ attitudes toward mathematics subjects. The experimental reseach design was Randomized Pretest-Posttest Control Group Design. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, dependent samples t-test, and independent samples t-test. The findings were as follows: 1) The mathematical problem-solving ability of the experimental group students after learning mathematics through the STAD cooperative learning management combined with the KWDL technique was significantly higher than that of before the intervention at the .01 level. 2) After the intervention, the mathematical problem-solving ability of the experimental group students was significantly higher than that of the control group students at the .01 level. 3) The attitudes toward mathematics subjects of the experimental group students after the intervention were significantly higher than those of before the intervention at the .01 leve. 4) After the intervention, the attitudes toward mathematics subjects of the experimental group students were significantly higher than those of the control group students at the .01 level.

คำสำคัญ

การเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD, เทคนิค KWDL, การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์

Keyword

STAD cooperative learning, KWDL technique, Mathematical problem solving
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 12

วันนี้: 70

เมื่อวานนี้: 522

จำนวนครั้งการเข้าชม: 797,218

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033