...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2565
หน้า: 19-31
ประเภท: บทความวิจัย
View: 165
Download: 64
Download PDF
การพัฒนาหลักสูตรเสริม เรื่อง การปฏิบัติงานช่างไฟฟ้าในอาคาร สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Development of Enrichment Curriculum on Electrical Work in Buildings for Lower Secondary School Students
ผู้แต่ง
วงค์สุวรรณ ไชยรบ, พจมาน ชำนาญกิจ และสำราญ กำจัดภัย
Author
Wongsuwan Chairob, Potchaman Chamnankit and Sumran Gumjudpai

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพหลักสูตรเสริม เรื่อง การปฏิบัติงานช่างไฟฟ้าในอาคาร สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การปฏิบัติงานงานช่างไฟฟ้าในอาคาร ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนตามหลักสูตรเสริมที่พัฒนาขึ้น 3) เปรียบเทียบทักษะการปฏิบัติงานช่างไฟฟ้าของนักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรเสริมที่พัฒนาขึ้น กับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 4) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนตามหลักสูตรเสริมที่พัฒนาขึ้น การวิจัยครั้งนี้ มีการดำเนินการดังนี้ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) พัฒนาหลักสูตรเสริม และ 3) ทดลองใช้หลักสูตรเสริม โดยใช้แบบแผนการทดลองที่มีกลุ่มตัวอย่างเดียวมีการทดสอบก่อนและหลังทดลอง (One group pretest posttest design) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนการกุศลวัดบูรพา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบโควตา (Quota sampling) ระดับชั้นละ 10 คน จากนักเรียนที่สมัครใจเข้าร่วมหลักสูตร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตรเสริม เรื่อง การปฏิบัติงานช่างไฟฟ้าภายในอาคาร แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะการปฏิบัติงาน และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบหาค่าทีชนิดกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent samples t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักสูตรเสริม เรื่อง การปฏิบัติงานช่างไฟฟ้าในอาคาร สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีลักษณะเป็นหลักสูตรเสริมที่มีสาระการเรียนรู้ทั้งภาคความรู้และการปฏิบัติ โดยองค์ประกอบของหลักสูตร ประกอบด้วย 1) ที่มาและความสำคัญของหลักสูตร 2) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 3) หลักการของหลักสูตร 4) คำอธิบายรายวิชา 5) ผลการเรียนรู้ 6) สาระการเรียนรู้ 7) โครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตร 8) การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ 9) แนวทางการจัดการเรียนการสอน 10) สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ 11) การวัดและการประเมินผล ซึ่งผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (\bar{x} = 4.75, S.D. = 0.30) และหลักสูตรเสริมที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.36/83.08 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนตามหลักสูตรสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ทักษะการปฏิบัติงานของนักเรียนในการปฏิบัติงานช่างไฟฟ้าในอาคาร มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 85.36 ซึ่งผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนตามหลักสูตรเสริมที่พัฒนาขึ้น อยู่ในระดับมาก (\bar{x} = 4.01, S.D. = 0.25)

Abstract

The purposes of this research were: 1) to develop and determine the efficiency of an enrichment curriculum on electrical work in buildings for lower secondary school students to meet the defined criteria of 80/80, 2) to compare students’ learning achievement before and after learning through the developed enrichment curriculum, 3) to compare students’ performance skills on electrical work in buildings based on the 80 percent criterion, and 4) to examine the level of students’ satisfaction towards the developed enrichment curriculum. The curriculum was developed through three stages as follows: 1) fundamental information analysis, 2) enrichment curriculum development, and 3) implementation of the developed enrichment curriculum. The current research utilized a one-group pretest and posttest design. The sample group, obtained through a quota sampling, included ten student volunteers in each class level, yielding a total of 30 lower secondary school students at Wat Burapa Charity School in the second semester of academic year 2020. The research instruments were the developed enrichment curriculum on electrical work in buildings, a learning achievement test, an evaluation form for work performance skills, a set of satisfaction questionnaire. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and Dependent samples t-test. The findings were as follows: 1. The enrichment curriculum on electrical work in buildings for lower secondary school students covered knowledge and practical performance. The curriculum components consisted of: 1) curriculum background and importance, 2) objectives, 3) principles, 4) course description, 5) learning outcomes, 6) learning materials, 7) content structure, 8) design of learning activities, 9) guidelines for instructional management, 10) media and learning resources, and 11) measurement and evaluation. The assessment results from experts revealed that the developed enrichment curriculum was appropriate at the highest level (\bar{x} = 4.75, S.D. = 0.30) and achieved the efficiency of 83.36/83.08, which was higher than the specified criteria of 80/80. 2. The students' learning achievement average score after learning through the developed enrichment curriculum was significantly higher than that of before at the .01 level. 3. The students' performance skills was 85.36 percent which passed the specified criterion of 80 percent. 4. The overall average score of students’ satisfaction towards the developed enrichment curriculum was at a high level (\bar{x}= 4.01, S.D. = 0.25).

คำสำคัญ

หลักสูตรเสริม, งานช่างไฟฟ้าในอาคาร, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ทักษะปฏิบัติ, ความพึงพอใจ

Keyword

Enrichment curriculum, Electrical work in building, Achievement, Performance skills, Satisfaction
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 6

วันนี้: 75

เมื่อวานนี้: 652

จำนวนครั้งการเข้าชม: 771,680

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033