บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการพัฒนาหลักสูตรของนักศึกษา ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิด และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา ที่มีต่อการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 61 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิด จำนวน 6 แผน แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิด สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีชนิดกลุ่มไม่อิสระกัน (Dependent samples t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิด สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิด อยู่ในระดับมากที่สุด
Abstract
The purposes of this research were: 1) to compare students’ learning achievement in the Curriculum Development course before and after learning through the learning management using mind mapping technique, and 2) to examine the level of students’ satisfaction towards learning through the learning management using mind mapping technique. The samples were 61 3rd year students in the English department, Faculty of Education, Muban Chom Bueng Rajabhat University who enrolled in Curriculum Development course, semester 2, academic year 2020, obtained by cluster random sampling. The research instruments comprised 6 lesson plans based on learning management using mind mapping technique, a learning achievement test, and a set of satisfaction questionnaire towards learning through the learning management using mind mapping technique. The statistics for data analysis were mean, standard deviation, and dependent sample t-test. The findings were as follows: 1. The students’ learning achievement mean after learning through the learning management using mind mapping technique was significantly higher than that of before at the .05 level. 2. The students had satisfaction towards learning through the learning management using mind mapping technique at the highest level.
คำสำคัญ
แผนผังความคิด, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจ, นักศึกษาครูKeyword
Mind mapping, Learning achievement, Satisfaction, Student teacherกำลังออนไลน์: 28
วันนี้: 269
เมื่อวานนี้: 1,746
จำนวนครั้งการเข้าชม: 970,004
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033