บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้นิทานธรรมบท เสริมด้วยเทคนิคการสอนแบบ Storyline โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 2) เปรียบเทียบทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้นิทานธรรมบท เสริมด้วยเทคนิคการสอนแบบ Storyline กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหลวงพ่อเพชรวิทยา จังหวัดพิจิตร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 22 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง รวม 12 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านจับใจความ จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที ชนิด One sample test และชนิด Dependent samples t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังเรียนโดยใช้นิทานธรรมบท เสริมด้วยเทคนิคการสอนแบบ Storyline นักเรียนมีทักษะการอ่านจับใจความ สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 25.14 คะแนน จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 83.79 2. หลังเรียนโดยใช้นิทานธรรมบท เสริมด้วยเทคนิคการสอนแบบ Storyline นักเรียนมีทักษะการอ่านจับใจความ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. หลังเรียนโดยใช้นิทานธรรมบท เสริมด้วยเทคนิคการสอนแบบ Storyline นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.12, S.D. = 0.30)
Abstract
The purposes of this research were 1) to develop the reading comprehension skills of Mathayomsuksa 3 students using tales of Dharma supported by storyline teaching techniques, compared to 80 percent criteria, 2) to compare students’ reading comprehension skills between before and after learning, and 3) to investigate students’ satisfaction towards the learning management using tales of Dharma supported by storyline teaching techniques. The research sample consisted of 22 Mathayomsuksa 3 students studying in the second semester of the 2020 academic year at Luang Pho Phet Wittaya School in Phichit province. The research instruments included 1) 6 learning management plans, 2 hours each plan, total 12 hours, 2) a 30-item reading comprehension test, and 3) a questionnaire to examine students’ satisfaction towards the learning management using tales of Dharma supported by storyline teaching techniques, 15 items. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, one sample t-test, and dependent samples t-test. The research findings were as follows: 1. After learning through the use of Dharma tales supplemented by Storyline teaching techniques, the students had reading comprehension skills significantly higher than the threshold set (80 percent) at the .05 level, with an average score of 25.14 from a full score of 30, representing 83.79 percent. 2. After learning through the use of Dharma tales supplemented by Storyline teaching techniques, the students had reading comprehension skills significantly higher than that of before at the .05 level. 3. After learning through the use of Dharma tales supplemented by Storyline teaching techniques, the overall average score of students’ satisfaction towards the learning management was at a high level (= 4.12, S.D. = 0.30).
คำสำคัญ
การอ่านจับใจความ, นิทานธรรมบท, เทคนิคการสอนแบบ StorylineKeyword
Reading comprehension, Tales of Dharma, Storyline teaching techniquesกำลังออนไลน์: 26
วันนี้: 281
เมื่อวานนี้: 1,746
จำนวนครั้งการเข้าชม: 970,016
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033