...
...
เผยแพร่: 30 ธ.ค. 2564
หน้า: 231-236
ประเภท: บทความวิจัย
View: 74
Download: 47
Download PDF
การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ตามทัศนะของนักศึกษา
Undergraduate Students’ Perceptions of Chinese Language Learning Management in Rajamangala University of Technology Rattanakosin
ผู้แต่ง
สมบัติ แซ่เบ๊ และอนัญญา ตั๋นประเสริฐ
Author
Sombut Sae-be and Ananya Tanprasert

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ตามทัศนะของนักศึกษา จำแนกตามเพศและอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาวิชาเอกภาษาจีน สาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ประจำปีการศึกษา 2563 จำนวน 97 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ตามทัศนะของนักศึกษา จำแนกตามเพศและอายุ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือด้านอาจารย์ผู้สอน รองลงมา ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านเนื้อหารายวิชาในหลักสูตร และด้านการวัดผลประเมินผล ตามลำดับ

Abstract

The purpose of this research was to investigate the conditions of Chinese language learning management at Rajamangala University of Technology Rattanakosin (RMUTR) as perceived by undergraduate students, classified by gender and age. The sample, obtained through simple random sampling, consisted of 97 undergraduate students majoring in Chinese Language, Chinese Language Program, Faculty of Liberal Arts, RMUTR, in the 2020 academic year. The research instrument for data collection was a set of questionnaires. The statistics for data analysis were percentage, mean, and standard deviation.  The research results were as follows: The overall conditions of Chinese language learning management at RMUTR as perceived by undergraduate students, classified by gender and age were at a high level. The variables were ranked in ascending order as follows: teachers, teaching and learning management, course contents, and measurement and evaluation, respectively.

คำสำคัญ

การจัดการเรียนการสอนภาษาจีน, ทัศนะของนักศึกษา

Keyword

Chinese Language Learning Management, Students’ Perception
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 16

วันนี้: 189

เมื่อวานนี้: 652

จำนวนครั้งการเข้าชม: 771,794

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033