บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นรูปแบบการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่อง กฎของปาสคัลและระบบไฮดรอลิกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน โดยตั้งเกณฑ์ความสำเร็จว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 และ 2) หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา นักศึกษามีคะแนนความสามารถในการคิดสร้างสรรค์เฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และมีจำนวนนักศึกษาผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้อย่างน้อยร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่เรียนวิชาฟิสิกส์ทางการเกษตร ในปีการศึกษา 2563 จำนวน 36 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบวัดความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษามีประสิทธิภาพ 75.34/76.10 และ 2) นักศึกษามีคะแนนความสามารถในการคิดสร้างสรรค์เฉลี่ยเท่ากับ 20.14 จากคะแนนเต็ม 24 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 83.92 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และมีจำนวนนักศึกษาที่ผ่านเกณฑ์ 34 คน คิดเป็นร้อยละ 94.44
Abstract
The objective of this classroom action research was to develop Stem Education learning activity packages on Pascal’s law and hydraulic system to enhance students’ creative thinking ability of Rajamangala university of Technology Lanna Nan. The success criterion was set as: 1) The Stem Education learning activity packages was effective on the 75/75 criterion, and 2) after learning through the learning activity packages, the average creativity of students was not less than 70 percent of the perfect score and the number of students who passed the specified criteria was at least 70 percent. The sample consisted of 36 students from Rajamangala university of Technology Lanna Nan, enrolled in agricultural physics of academic year 2020, selected by using purposive sampling. The research instruments were 1) learning management plans, 2) a learning achievement test, and 3) a test for assessing creative thinking ability. The statistics used for data analysis were percentage, mean, and standard deviation. The results of this research were as follows: 1) The efficiency of the developed Stem Education learning activity packages was 75.34/76.10 and 2) the students had an average creativity score of 20.14 out of 24, representing 83.92 percent, which met the specified criterion, and there were 34 qualified students, representing 94.44 percent.
คำสำคัญ
สะเต็มศึกษา, ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, ความคิดสร้างสรรค์Keyword
Stem education, Learning activity packages, Creative thinkingกำลังออนไลน์: 29
วันนี้: 177
เมื่อวานนี้: 1,746
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,912
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033