...
...
เผยแพร่: 30 ธ.ค. 2564
หน้า: 213-221
ประเภท: บทความวิจัย
View: 203
Download: 109
Download PDF
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ SQ5R ร่วมกับแบบฝึกทักษะ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Development of SQ5R Learning Management with the Skill-Practice Exercises to Enhance Main Idea Comprehension Ability of Prathomsuka 3 Students
ผู้แต่ง
ดรุณี จำรัสภูมิ และนฤมล ภูสิงห์
Author
Darunee Jumratphum and Narumol Phusing

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบ SQ5R ร่วมกับแบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ5R ร่วมกับแบบฝึกทักษะ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ SQ5R ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านวังตาลาดสมบูรณ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ SQ5R ร่วมกับแบบฝึกทักษะ 2) แบบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบ SQ5R ร่วมกับแบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 82.44/80.17 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2. ความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ SQ5R ร่วมกับแบบฝึกทักษะ อยู่ในระดับมาก (\bar{x} = 2.85, S.D. = 0.34)

Abstract

The purposes of this research were to 1) develop lesson plans based on SQ5R and the skill-practice exercises for Prathomsuksa 3 students to meet the efficiency criteria of 80/80, 2) compare the main idea comprehension ability of Prathomsuksa 3 students before and after learning through the SQ5R learning management with the skill-practice exercises, and 3) examine the satisfaction of Prathomsuksa 3 students toward the SQ5R learning management with the skill-practice exercises. The samples were 30 Prathomsuksa 3 at Banwangtaladsomboon School in the second semester of the academic year 2020, obtained through cluster sampling. The research instruments were: 1) lesson plans based on SQ5R with the skill-practice exercises, 2) a test of main idea comprehension ability, and 3) a set of satisfaction questionnaires. Statistics for data analysis comprised mean, standard deviation, and t-test for Dependent Sample. The results were as follows: 1. The lesson plans based on SQ5R with the skill-practice exercises of Prathomsuksa 3 students met the efficiency of E1/E2 at 82.44/80.17, which was higher than the defined criteria. 2. The main idea comprehension ability of Prathomsuksa 3 students after the intervention was higher than that of before the intervention at the .01 level of significance. 3. The satisfaction of Prathomsuksa 3 students toward the SQ5R learning management with the skill-practice exercises was at a high level (\bar{x} = 2.85, S.D. = 0.34).

คำสำคัญ

การจัดการเรียนรู้แบบ SQ5R, แบบฝึกทักษะ, การอ่านจับใจความ

Keyword

SQ5R Learning Management, Skill-Practice Exercises, Main Idea Comprehension Ability
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 5

วันนี้: 508

เมื่อวานนี้: 1,235

จำนวนครั้งการเข้าชม: 788,291

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033