บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกอบรม การทำกายภาพบำบัดสำหรับผู้ดูแลบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดชัยภูมิ 2) ศึกษาผลการใช้ชุดฝึกอบรมการทำกายภาพบำบัดสำหรับผู้ดูแลบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดชัยภูมิ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ดูแลบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหวที่มีต่อชุดฝึกอบรม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ดูแลบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว จำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดฝึกอบรมการทำกายภาพบำบัดสำหรับผู้ดูแลบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว แบบทดสอบความรู้ ความเข้าใจการทำกายภาพบำบัด แบบวัดทักษะปฏิบัติการทำกายภาพบำบัดสำหรับผู้ดูแลบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ดูแลบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว ที่มีต่อชุดฝึกอบรม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณภาพของชุดฝึกอบรม การทำกายภาพบำบัดสำหรับผู้ดูแลบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ อยู่ในระดับมากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.86 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.15 2. ผลการใช้ชุดฝึกอบรมด้านความรู้ ความเข้าใจ การทำกายภาพบำบัดสำหรับผู้ดูแล หลังการฝึกอบรม พบว่า มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 8.03 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.66 3. ผลการใช้ชุดฝึกอบรมด้านทักษะปฏิบัติ การทำกายภาพบำบัดสำหรับผู้ดูแล หลังการฝึกอบรม พบว่า จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่ผ่านการอบรมเฉลี่ย เท่ากับ 28.31 คน คิดเป็นร้อยละ 94.38 และจำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่ไม่ผ่านการอบรมเฉลี่ย เท่ากับ 1.69 คน คิดเป็นร้อยละ 5.63 4. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ดูแลที่มีต่อชุดฝึกอบรม การทำกายภาพบำบัดสำหรับผู้ดูแล หลังการใช้ชุดฝึกอบรม พบว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คือ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.64 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.49
Abstract
The purposes of this research were to 1)develop a physiotherapy training package for caregivers of Individuals with physical disabilities in a Chaiyaphum Special Education Center, 2) examine the effects after the intervention, and 3) investigate the satisfaction of caregivers of individuals with physical disabilities toward the developed training package. The target group, obtained through a purposive sampling, consisted of 30 caregivers of individuals with physical disabilities. The research instruments included a physiotherapy training package for caregivers of Individuals with physical disabilities, a test on knowledge and understanding of physiotherapy, a performance test of caregivers of individuals with physical disabilities, and a satisfaction questionnaire of caregivers toward the developed training package. The data were analyzed by using percentage, mean, and standard deviation. The findings were as follows: 1. The quality of the developed training package was appropriate for further implementation at the highest level with a mean level of 4.86 and a standard deviation of 0.15. 2. The effects after the intervention revealed that a mean score of the caregivers’ knowledge and understanding of physiotherapy was at 8.03 and a standard deviation of 0.66. 3. The effects after the intervention showed that 28.32 attendees or 94.38 percent passed the training requirements, whereas 1.69 attendees or 5.63 percent could not perform properly. 4. The satisfaction of the caregivers toward the developed training package was at the highest level with a mean level of 4.64 and a standard deviation of 0.49.
คำสำคัญ
ชุดฝึกอบรม, การทำกายภาพบำบัด, ผู้ดูแลบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหวKeyword
A Training Package, Physiotherapy, Caregivers of Individuals with Physical Disabilitiesกำลังออนไลน์: 33
วันนี้: 86
เมื่อวานนี้: 1,746
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,821
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033