...
...
เผยแพร่: 30 ธ.ค. 2564
หน้า: 183-190
ประเภท: บทความวิจัย
View: 99
Download: 73
Download PDF
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับครูปฐมวัย
Development of An In-Service Training Course to Enhance Creative Problem Solving Ability for Early Childhood Teachers
ผู้แต่ง
ณปภัช อิ่มอ่อง และชวนพิศ รักษาพวก
Author
Napaphat Aimoong and Chuanpit Raksapuk

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับครูปฐมวัย 2) สร้างหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับครูปฐมวัย 3) ประเมินและปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับครูปฐมวัย การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาความต้องการฝึกอบรม ระยะที่ 2 การสร้างหลักสูตรฝึกอบรม ระยะที่ 3 การประเมินและปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มเป้าหมายเป็นครูปฐมวัยที่ปฏิบัติการสอนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตอำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ทั้งหมด 15 ศูนย์ จำนวน 50 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (\bar{x}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1. ความต้องการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับครูปฐมวัย ประกอบด้วย 5 หน่วย ได้แก่ 1) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปัญหาและการแก้ปัญหา 2) การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 3) การจัดประสบการณ์ตามกระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย 4) การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย และ 5) เครื่องมือการประเมินพฤติกรรมเด็กปฐมวัย 2. หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับครูปฐมวัย ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการและเหตุผล 2) จุดมุ่งหมาย 3) โครงสร้าง/เนื้อหาสาระ 4) กิจกรรมการฝึกอบรม และ 5) การวัดและประเมินผล 3. หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับครูปฐมวัย ภาพรวมมีค่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.35 (\bar{x} = 4.35, S.D. = 0.15)

Abstract

The purposes of this research were to 1) examine the need for the in-service training to enhance the creative problem-solving ability of early childhood teachers, 2) create the in-service training curriculum to enhance the creative problem-solving ability of early childhood teachers, and 3) evaluate and refine the in-service training curriculum to enhance the creative problem-solving ability of early childhood teachers. The research was divided into three phases: Phase 1: Examining the needs of in-service training curriculum; Phase 2: Creating the in-service training curriculum; and Phase 3: Evaluating and refining the in-service training curriculum. The target group was 50 early childhood teachers from 15 Child Development Centers in Tapanhin district, Pichit province, obtained through purposive sampling. Statistics for data analysis were percentage, mean, and standard deviation. The results were as follows: 1. The need for training in-training curriculum to enhance the creative problem-solving ability of early childhood teachers consisted of five units: 1) basic knowledge about problems and solutions, 2) creative problem-solving, 3) organizing the learning experience for early childhood students through creative problem-solving, 4) creative problem-solving of early childhood students, and 5) behavior assessment tools for early childhood students. 2. The in-service training curriculum to enhance the creative problem-solving ability of early childhood teachers consisted of five components: 1) Introduction, 2) Objectives, 3) Structure/Contents, 4) training activities, and  5) measurement and evaluation. 3. The in-service training curriculum to enhance the creative problem-solving ability of early childhood teachers was overall at a high level of appropriateness with a mean value of 4.35 (\bar{x} = 4.35, S.D. = 0.15).

คำสำคัญ

หลักสูตรฝึกอบรม, ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

Keyword

In-Service Training Curriculum, Creative Problem-Solving Ability
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 12

วันนี้: 920

เมื่อวานนี้: 603

จำนวนครั้งการเข้าชม: 787,468

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033