บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ มาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับแบบฝึกทักษะ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ มาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับแบบฝึกทักษะ ระหว่างก่อนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่าน หน่วยการเรียนรู้ มาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับแบบฝึกทักษะ ระหว่างก่อนและหลังเรียน และ 4) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียน หน่วยการเรียนรู้ มาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับแบบฝึกทักษะ ระหว่างก่อนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชุมชนบ้านท่างาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับแบบฝึกทักษะ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ มาตราตัวสะกด 3) แบบวัดความสามารถในการอ่าน และ 4) แบบวัดความสามารถในการเขียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับแบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 83.33/80.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ มาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับแบบฝึกทักษะ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความสามารถในการอ่าน หน่วยการเรียนรู้ มาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับแบบฝึกทักษะ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ความสามารถในการเขียน หน่วยการเรียนรู้ มาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับแบบฝึกทักษะ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract
The purposes of this research were to 1) develop lesson plans of the Thai Spelling learning unit of Prathomsuksa 2 students using the brain-based Learning integrated with skill-practice exercises to meet the efficiency criteria of 80/80, 2) compare the students’ learning achievement in the Thai Spelling learning unit before and after learning through the learning management based on the brain-based Learning integrated with skill-practice exercises, 3) compare the students’ reading ability in the Thai Spelling learning unit before and after learning through the learning management based on the brain-based Learning integrated with skill-practice exercises, and 4) compare the students’ writing ability in the Thai Spelling learning unit before and after learning through the learning management based on the brain-based Learning integrated with skill-practice exercises. The samples, obtained through cluster random sampling, were 15 Prathomsuksa 2 students at Chumchon-Ban Thangam School under Phitsanulok Primary Educational Service Area Office 3 in the second semester of 2020 academic year. The research instruments consisted of 1) lesson plans based on brain-based learning integrated with skill-practice exercises, 2) a learning achievement test in the Thai Spelling learning unit, 3) a reading ability test, and 4) a writing ability test. The statistics for data analysis included mean, standard deviation, and t-test for Dependent Samples. The results revealed that: 1. The developed lesson plans based on brain-based learning integrated with skill-practice exercises achieved the E1/E2 efficiency of 83.33/80.33, which was higher than the defined criteria of 80/80. 2. The students’ learning achievement after the intervention was higher than that of before the intervention at the .05 level of significance. 3. The students’ reading ability after the intervention was higher than that of before the intervention at the .05 level of significance. 4. The students’ writing ability after the intervention was higher than that of before the intervention at the .05 level of significance.
คำสำคัญ
การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน, แบบฝึกทักษะ, ความสามารถในการอ่านและการเขียนKeyword
Brain-Based Learning, Skill-Practice Exercises, Reading and Writing Abilitiesกำลังออนไลน์: 44
วันนี้: 115
เมื่อวานนี้: 1,746
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,850
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033