...
...
เผยแพร่: 30 ธ.ค. 2564
หน้า: 159-171
ประเภท: บทความวิจัย
View: 225
Download: 219
Download PDF
การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยจากสื่อสิ่งพิมพ์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRC และเทคนิคการสอนแบบ SQ4R ที่ส่งผลต่อการอ่านจับใจความ การคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Development of Thai Language Readin Skill Packages from Printed Materials Using CIRC and SQ4R Teaching Techniques for Reading for Comprehension, Analytical Thinking and Learning Achievement of Mathayomsuksa 3 Students
ผู้แต่ง
รินขวัญ แก้วอุ่นเรือน, พิตร ทองชั้น และสมเกียรติ พละจิตต์
Author
Rinkwun Kaewunruen, Phit Thongchan and Somkiat Palajit

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยจากสื่อสิ่งพิมพ์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRC และเทคนิคการสอนแบบ SQ4R ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบการอ่านจับใจความระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 5) เปรียบเทียบการอ่านจับใจความ การคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยจากสื่อสิ่งพิมพ์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRC และเทคนิคการสอนแบบ SQ4R ของนักเรียนที่มีระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนแตกต่างกัน (สูง ปานกลาง และต่ำ) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ จำนวนนักเรียน 37 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดฝึกทักษะการอ่านจากสื่อสิ่งพิมพ์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRC และเทคนิค SQ4R จำนวน 7 ชุด 2) แบบทดสอบวัดการอ่านจับใจความ 3) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ และ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) การทดสอบค่าที (t-test for Dependent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One–way ANOVA) การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว (One-way ANCOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณ (One-way MANCOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยจากสื่อสิ่งพิมพ์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRC และเทคนิคการสอนแบบ SQ4R มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์เท่ากับ 83.54/82.05 2. การอ่านจับใจความของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ .05 4. ผลสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. การอ่านจับใจความ การคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนของนักเรียนที่มีระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนต่างกัน (สูง ปานกลาง และต่ำ) หลังเรียนด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยจากสื่อสิ่งพิมพ์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRC และเทคนิคการสอนแบบ SQ4R พบว่าตัวแปรตามทั้ง 3 ตัวมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูง มีการอ่านจับใจความและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่มีระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนปานกลางและต่ำ ส่วนการคิดวิเคราะห์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The purposes of this research were 1) to develop Thai language reading skill packages from printed materials using Cooperative Integrated Reading and Composition (CIRC) and SQ4R techniques to meet the 80/80 efficiency criteria, 2) to compare the students’ reading comprehension before and after the intervention, 3) to compare the students’ analytical thinking before and after the intervention, 4) to compare the students’ learning achievement before and after the intervention, and 5) to compare the reading comprehension, analytical thinking and learning achievement of the students with three-level achievement motivations (high, moderate and low). The samples consisted of 37 students, obtained through cluster random sampling, from Mathayomsuksa 3 students studying in the second semester of the 2018 academic year at Matthayomwaritchaphum school under the Secondary Educational Service Area Office 23. The research instruments included 1) seven volumes of Thai language reading skill packages based on CIRC and SQ4R techniques, 2) a reading comprehension test, 3) an analytical thinking test, and 4) a learning achievement test. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, E1/E2 efficiency, t-test for Dependent Samples, One-way ANOVA, One-way ANCOVA, and One-way MANCOVA. The results revealed that: 1. The Thai language reading skill packages from printed materials using CIRC and SQ4R achieved the 83.54/82.05 efficiency criteria, which was higher than the defined criteria of 80/80. 2. The students’ reading comprehension after the intervention was higher than that of before the intervention at the .05 level of significance. 3. The student's analytical thinking comprehension after the intervention was higher than that of before the intervention at the .05 level of significance. 4. The students’ learning achievement after the intervention was higher than that of before the intervention at the .05 level of significance. 5. After the intervention, the three variables, namely reading comprehension, analytical thinking, and learning achievement showed differences at the .05 level of significance. The levels of reading comprehension and learning achievement of high- achievement motivation students was higher than those of their counterparts with moderate and low achievement motivation; however, the students’ analytical thinking showed no differences.

คำสำคัญ

ชุดฝึกทักษะการอ่าน, การเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRC, เทคนิคการสอนแบบ SQ4R

Keyword

Reading Skill Packages, CIRC, SQ4R Teaching Technique
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 31

วันนี้: 150

เมื่อวานนี้: 1,746

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,885

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033