บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนนักศึกษาวิชาชีพครู โดยใช้วิจัยเป็นฐาน วิชาการพัฒนาหลักสูตร โดยเป็นการวิจัยและพัฒนา มีขั้นตอนการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 3) การนำรูปแบบการเรียนการสอนไปใช้ และ 4) การประเมินผลรูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ วิชาเอกภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง จังหวัดราชบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 36 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบวัดความรู้ในการพัฒนาหลักสูตร 2) แบบประเมินความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาวิชาชีพครูที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนวิชาการพัฒนาหลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระกัน (Dependent samples t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอน NPU Model โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน มีประสิทธิภาพของกระบวนการเท่ากับร้อยละ 81.50 และประสิทธิภาพของผลลัพธ์เท่ากับร้อยละ 82.5 2) ความรู้ในการพัฒนาหลักสูตรของนักศึกษาหลังการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของนักศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับสูงมาก และ 4) ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐานอยู่ในระดับเห็นด้วยมากทุกด้าน โดยที่ประเด็นที่นักศึกษาเห็นด้วยสูงสุดสองอันดับแรก คือ การใช้คําถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ด้วยตนเอง และการส่งเสริมให้วางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
Abstract
The research aimed to develop the instructional model for the student teacher using research-based learning in curriculum development course. The research process was divided into 4 steps: 1) curriculum analysis 2) designing and development of instructional model, 3) instructional model implementation, and 4) instructional model evaluation. The research sample was 36 second-year students, majoring Chainese, Faculty of Education at Muban Jombueng Rajabhat University, while enrolled in the second semester of the academic year 2020, selected by using multistage random sampling. The research instruments were: 1) a test to measure curriculum development knowledge, 2) a form to assess the performance of curriculum development, and 3) a questionnaire to investigate students’ opinions towards the instructional model. The data were analyed using percentage, mean, standard deviation, dependent samples t-test, and content analysis. The results of this research were as follows: 1) The NPU instructional model using the research-based learning had a process efficiency of 81.50 percent and a product efficiency of 82.50 percent, 2) the mean of students’ curriculum development knowledge after the instructional model experiment was significantly higher than that of before at the .01 level, 3) the overall students’ ability to develop curriculum was at a very high level, and 4) the opinions of the students towards the research-based instructional model were at a high level of agreement in all aspects. The top two items that the students agreed with at the highest level were the use of questions to encourage learners to develop self-knowledge and the encouraging self-learning planning respectively.
คำสำคัญ
รูปแบบการเรียนการสอน, นักศึกษาวิชาชีพครู, การเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน, การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21Keyword
Instructional model, Student teacher, Research-based learning, The 21st century learningกำลังออนไลน์: 33
วันนี้: 239
เมื่อวานนี้: 1,746
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,974
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033