บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน รายวิชากระบวนการพยาบาลและการประเมินภาวะสุขภาพ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษา ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน รายวิชากระบวนการพยาบาลและการประเมินภาวะสุขภาพ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบ One Group Pre-test Post–test Design กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชากระบวนการพยาบาล และการประเมินภาวะสุขภาพ ในภาคเรียนที่ 1/2563 จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) แบบวัดความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเอง และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มไม่อิสระกัน (Dependent samples t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา หลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษา หลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านอยู่ในระดับมาก ( = 3.72, S.D. = 0.84)
Abstract
The purposes of the research were 1) to compare the students' learning achievement between before and after learning through flipped classroom learning management, to compare the students' self-directed learning ability between before and after learning through flipped classroom learning management, and 3) to study the students' satisfaction towards learning through flipped classroom learning management. This research was a quasi-experimental research using the one group pre-test and post–test design. The sample consisted of 2nd year nursing students in Rajathanee University, Udon Thani Campus who enrolled in the course of nursing process and health assessment in the first semester of academic year 2020, The instruments consisted of 1) learning plans of flipped classroom learning management, 2) pre-post learning achievement test, 3) a self-directed learning ability test, and 4) a questionnaire for studying the students’ satisfaction towards learning through flipped classroom learning management. The data were analyzed by mean, standard deviation, and dependent samples t-test. The results of the research were as follows: 1) the mean of students’ learning achievement after learning through flipped classroom learning management was significantly higher than that before at the .01 level, 2) the mean of students’ self-directed learning ability after learning through flipped classroom learning management was significantly higher than that before at the .01 level, and 3) the overall satisfaction of the students towards learning through flipped classroom learning management was at a high level ( = 3.72, S.D. = 0.84).
คำสำคัญ
ห้องเรียนกลับด้าน, การเรียนรู้แบบนำตนเอง, นักศึกษาพยาบาลKeyword
Flipped classroom, Self-directed learning, Nursing studentกำลังออนไลน์: 35
วันนี้: 170
เมื่อวานนี้: 1,746
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,905
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033