บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของสังคมพหุวัฒนธรรมในบริบทพื้นที่ที่มีการแต่งงานข้ามชาติ และ 2) ศึกษากระบวนการพัฒนาหลักสูตรพหุวัฒนธรรมศึกษาที่สนองต่อบริบทพื้นที่ที่มีการแต่งงานข้ามชาติ การวิจัยครั้งนี้เป็นการการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ (1) ระยะศึกษาสภาพปัจจุบัน (2) ระยะการศึกษากระบวนการพัฒนาหลักสูตร และ (3) ระยะสะท้อนกระบวนการพัฒนาหลักสูตร เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การพูดคุยแบบไม่เป็นทางการ และการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีจำแนกชนิดข้อมูลและวิธีการอุปนัยเพื่อสร้างสรุปจากปรากฏการณ์ และตรวจสอบข้อมูลโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Member checking) กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย (1) นักเรียนลูกครึ่ง 5 คน (2) นักเรียนกลุ่มหลัก 35 คน (3) ผู้บริหารและครู 16 คน และ (4) ผู้ปกครองและคนในชุมชน 14 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของสังคมพุหุวัฒนธรรมในชนบทอีสาน การแต่งงานข้ามชาติเป็นเงื่อนไขของสังคมพหุวัฒนธรรมทำให้เกิดลูกครึ่งในชนบทอีสาน แม้ว่าจะมีการยอมรับภาพลักษณ์ของลูกครึ่งที่ปรากฏการณ์ทั่วไปในสื่อ แต่ลูกครึ่งในชุมชนที่ผู้วิจัยเข้าไปศึกษา ยังเผชิญกับการถูกมองในลักษณะความเป็นอื่น การถูกล้อเลียน และการเสียดสี อัตลักษณ์ทางกายภาพซึ่งถือเป็นอคติทางวัฒนธรรม จึงเป็นภาวะที่มีความจำเป็นสำหรับการพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้ผู้เรียนสามารถอยู่ร่วมกับความหลากหลายอย่างเข้าใจ และลดอคติทางวัฒนธรรมที่มีต่อกันลง 2) การพัฒนาหลักสูตรพหุวัฒนธรรมศึกษาที่จะตอบสนองบริบทชุมชนดังกล่าวนั้น ควรเป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยการใช้อัตชีวประวัติที่เน้นการนำเอาชีวิตและสังคมผู้เรียนมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยวิธี Method of the Currere ของ Pinar (1975) ซึ่งเป็นกระบวนการของหลักสูตรที่ประกอบด้วย กระบวนการ Regressive มองอดีต กระบวนการ Progressive มองอนาคต กระบวนการ Analytic วิเคราะห์ และกระบวนการ Synthesis สังเคราะห์ และ 3) กระบวนการพัฒนาหลักสูตรด้วยวิธีการ Method of the Currere ทำให้นักเรียนเกิดกระบวนการคิดและความเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกับชีวิตและสังคม และเกิดความเข้าใจกระบวนการหล่อหลอมมุมมอง ทัศนะหรือความคิดที่นำมาสู่การตระหนักต่อสถานการณ์ข้ามวัฒนธรรม
Abstract
The purposes of this research were: 1) to examine the status quo of multicultural societies in the transnational marriage areas, and 2) to study the development process of multicultural education curriculum for the transnational marriage areas. This participatory action research was divided into three phases: Phase 1- Investigation of the status quo, Phase 2- Curriculum development process, and Phase 3- Reflections on the curriculum development process. Qualitative data were collected using participant observation, informal discussion. and semi-structured interviews. Data classification method and inductive analysis were used for data analysis to create conclusions from the phenomena. The member checking method was employed to determine accuracy. The target group of this research comprised 1) five mixed-race students, 2) 35 students, the main target group for the intervention, 3) 16 school administrators and teachers, and 4) 14 parents and community members. The findings were as follows: 1) The status quo of a multicultural society in rural Isan revealed that a transnational marriage is a condition of a multicultural society where mixed-race children were born in rural Isan. Although mixed-race identities embedded in media were accepted, the mixed-race individuals in the selected community have experienced ‘otherness’, mocking teasing, and sarcasm with physical identity, known as cultural biases. Therefore, there was an imperative for developing a curriculum to enable learners to coexist with diverse individuals and to minimize cultural biases with one another; 2) The development of a multicultural education curriculum responding to the community context should be the learning exchange process using autobiography focusing on life and society. Learners should also participate in the development process for knowledge sharing based on Pinar's Method of the Currere (1975) consisting of Regressive, Progressive, Analytic, and Synthetic dimensions; and 3) The development process of a multicultural education curriculum based on Pinar’s Method of Currere assisting students to develop multicultural thinking and understanding connected to life and society and understand the perspectives leading to cross-cultural situational awareness.
คำสำคัญ
การพัฒนาหลักสูตร, พหุวัฒนธรรมศึกษา, ความหลากหลายทางวัฒนธรรมKeyword
Curriculum Development, Multicultural Education, Cultural Diversityกำลังออนไลน์: 35
วันนี้: 82
เมื่อวานนี้: 1,746
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,817
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033