บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หน่วยการเรียนรู้ สารและสมบัติของสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเมืองน้อยราษฎร์สงเคราะห์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวนนักเรียน 18 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดแบบปรนัย 4 ตัวเลือก 3) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา มีลักษณะเป็นสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน 6 สถานการณ์ ชนิดแบบปรนัย 4 ตัวเลือก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ชนิด Dependent samples ผลการวิจัยพบว่า 1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หน่วยการเรียนรู้ สารและสมบัติของสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 81.03/80.37 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 80/80 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หน่วยการเรียนรู้ สารและสมบัติของสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียน หน่วยการเรียนรู้ สารและสมบัติของสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract
The purposes of this research were to 1) develop the lesson plans based on problem-based learning on substances and properties of substances unit for Prathomsuksa 6 students to meet the efficiency of 80/80, 2) compare students’ learning achievement between before and after learning through problem-based learning management, and 3) compare students’ problem-solving abilities between before and after learning through problem-based learning management. The sample was 18 Prathomsuksa 6 students at Muangnoiradsonkkrow School, in the second semester of the academic year 2020, obtained by cluster random sampling. The research instruments were 1) the lesson plans based on problem-based learning, 2) 4-multiple choice learning achievement test, and and 3) 4-multiple choice problem-solving abilities test consisted of 6 daily life situations. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and dependent samples t-test. The results of this study were as follows: 1. The lesson plans based on problem-based learning on substances and properties of substances unit for Prathomsuksa 6 students had an efficiency of 81.03/80.37, higher than the specified criterion of 80/80. 2. The students’ learning achievement mean after learning through problem-based learning management was significantly higher than that of before at the .05 level. 3. The students’ problem-solving abilities mean after learning through problem-based learning management was significantly higher than that of before at the .05 level.
คำสำคัญ
จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, ความสามารถในการแก้ปัญหา, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนKeyword
Problem-based learning management, Problem-solving abilities, Learning achievementกำลังออนไลน์: 30
วันนี้: 204
เมื่อวานนี้: 1,746
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,939
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033