...
...
เผยแพร่: 30 ธ.ค. 2564
หน้า: 1-15
ประเภท: บทความวิจัย
View: 329
Download: 227
Download PDF
เบญจกิจโมเดล : รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
Five Activities Model : A Model of Active Learning Management to develop 21st Century Learners
ผู้แต่ง
ประยูร บุญใช้
Author
Prayoon Boonchai

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 2) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยผู้เชี่ยวชาญ และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างที่ 1 เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมชนวัดพิชิตปิตยาราม จังหวัดปทุมธานี จำนวน 30 คน กลุ่มตัวอย่างที่ 2 เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนวัดพิชิตปิตยาราม จังหวัดปทุมธานี จำนวน 25 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ 3 เป็นนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการประถมศึกษา ชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยองกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี  จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบวัดและประเมินทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ฉบับที่ 2 แบบประเมินการทำงานแบบร่วมมือ ฉบับที่ 3 แบบประเมินความสามารถในการสื่อสาร และฉบับที่ 4 แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชา 3) แบบประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ และ 4) แบบบันทึกการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการเรียนรู้ และ 4) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ในส่วนของกระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก 5 กิจกรรม ซึ่งเรียกว่า “เบญจกิจ” ได้แก่ 1) คิด 2) ทำ 3) นำเสนอ 4) ร่วมมือ รวมพลัง และ 5) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า 2.1 ผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ซึ่งประกอบด้วย ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ความสามารถในการทำงานแบบร่วมมือ ความสามารถในการสื่อสาร และความคิดสร้างสรรค์ หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 ผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3 ผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The objectives of this research were: 1) to create a model of active learning management to develop learners in the 21st century, 2) to assess the appropriateness of the developed model by experts, and 3) to study the results of the model application. The samples comprised three groups. Group one : 30 Prathom Suksa 6 students of Watpichitschool in Prathum Thani Province; Group two : 25 Mathayom Suksa 3 students of Watpichitschool; Group three : 28 student teachers of Elementay Education major from faculty of Education, Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage. The research instruments used in data collection were a form for assessment of learning and innovation skills included 4 parts; 1) critical thinking; Communication; Collaboration; Creativity, a test for measuring learning achievement, a form for assessing satisfaction, and a form of learning log. The statistics used in this study were percentage, mean, standard deviation, t-test and content analysis. The results of this study were as follows: 1. The developed model of active learning management for the development of learners in the 21st century consisting of: 1) principles, 2) objectives, 3 contents, 4) process of learning, and 5) measurement and evaluation. As for the learning process, there are 5 activities based on active learning as follows: 1) Think, 2) Do, 3) Present, 4) Collaborate, and 5) Share. The result of evaluating the model by experts found that it was appropriate at the highest level. 2. The results of implementation of the developed instructional model were as follows: 2.1 The students who were developed according to the model had learning and innovation skills after  the experiment using the model higher than before the experiment with statistical significance at the .05 level. 2.2 The students who were developed according to the model had learning achievement after the experiment using the model higher than before the experiment and higher than the set criterion of 70 percent with statistical significance at the .05 level. 2.3 The students who were developed according to the model had satisfaction toward learning activities at the highest level.

คำสำคัญ

เบญจกิจโมเดล, รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก, ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21

Keyword

Five activities model, Model of active learning management, 21st century learners
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 34

วันนี้: 87

เมื่อวานนี้: 1,746

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,822

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033