...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2564
หน้า: 249-261
ประเภท: บทความวิจัย
View: 239
Download: 219
Download PDF
การพัฒนากระบวนการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรครู ด้วยแนวคิดการเรียนรู้ สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครูและการเรียนการสอน
Development of Process to Enhance Teachers’ Potential Based on the Concept of Transformative Learning to Improve Teachers' Spirituality and Instruction
ผู้แต่ง
อริสา สุมามาลย์ และชรรินชร เสถียร
Author
Arisa Sumamal and Chararinchon Satien

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรครู ด้วยแนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครูและการเรียนการสอน โดยมี 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1) ขั้นวางแผน (Plan) 2) ขั้นปฏิบัติและสังเกตการณ์ (Act & Observe) และ 3) ขั้นสะท้อนผล (Reflect) รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน 2563 กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูตั้งแต่ระดับชั้นปฐมวัย ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จากโรงเรียนในพื้นที่อำเภอตะพานหิน หรืออำเภอใกล้เคียง จังหวัดพิจิตร ใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 10 คน ซึ่งเป็นครูที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการหยั่งรากจิตตปัญญาศึกษาสู่สังคมแห่งความสุขปีที่ 4 โดยศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกภาคสนาม แบบสังเกตการณ์การสอน แบบบันทึกการทบทวนหลังการปฏิบัติงาน แบบประเมินตนเอง และประเด็นในการสัมภาษณ์กลุ่ม ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและการวิเคราะห์เชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรครูด้วยแนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครูและการเรียนการสอน ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน และใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 15 สัปดาห์ มีขั้นตอน ได้แก่ 1) การเตรียมความพร้อมของครู 2) การเสริมสร้างจิตวิญญาณความเป็นครู 3) การเพิ่มทักษะและความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอน 4) การวางแผนพัฒนาการเรียนการสอน 5) การติดตามผลการนำไปใช้ และ 6) การสรุปบทเรียนการดำเนินงาน ทั้งนี้ พบว่าครูได้สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงภายในใจ ได้แก่ การรู้และใช้ธรรมชาติของตัวเองในการสอน การมีสติรู้ตัว การใส่ใจนักเรียนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน อันส่งผลต่อท่าทีในการสอนและการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ปลอดภัย

Abstract

The action research aimed to develop a process to enhance teachers’ potential based on the concept of transformative learning to improve teachers' spirituality and instruction, consisting of three main steps: 1) Plan, 2) Act and Observe, and 3) Reflect. The study was conducted from June-September 2019. Research participants were ten teachers from kindergarten, primary and secondary schools in Taphan Hin District or nearby districts, Phichit province. The purposive sampling was employed for selecting volunteer teachers who participated in the 4th Year Rooting of Intellectual Education to a Happy Society Project by the Center for Intellectual Education Mahidol University. The research statistics included a field note, a classroom observation form, an after-action-review note, a self-evaluation questionnaire, and group interview questions. Qualitative data were analyzed using content analysis, and quantitative data were analyzed using descriptive statistics: frequency and mean. The finding illustrated the process of enhancing teachers’ potential based on the concept of transformative learning to improve teachers' spirituality and instruction, consisting of six steps with a period of 15 weeks: 1) teacher preparation, 2) enhancement of teachers’ spirituality, 3) improvement of instructional skills and understanding, 4) Instructional development planning, 5) implementation follow-up, and 6) lesson summary. Teachers also reflected their inner transformation, such as being aware of their being, being mindful, and paying attention to all students equally. These transformations led to changes in teachers' attitudes and actions in classrooms and created a safe learning environment.

คำสำคัญ

การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง, กระบวนการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรครู, การวิจัยเชิงปฏิบัติการ

Keyword

Transformative Learning, Process for Teachers' Potential Enhancement, Action Research
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 14

วันนี้: 307

เมื่อวานนี้: 1,746

จำนวนครั้งการเข้าชม: 970,042

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033