...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2564
หน้า: 221-230
ประเภท: บทความวิจัย
View: 188
Download: 95
Download PDF
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับชุดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Development of Learning Activity Packages Using Inquiry Cycle (5Es) for Promoting Scientific Process Skills and Scientific Mind for Prathomsuksa 4 Students
ผู้แต่ง
อโนทัย เช่นพิมาย และรัชกร ประสีระเตสัง
Author
Anothai Chenpimai and Ratchakorn Praseeratesung

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาตร์และจิตวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ การดำรงชีวิตของพืช สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ 3) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ 4) เปรียบเทียบจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนบ้านเหลื่อม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และ 4) แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มไม่อิสระกัน (Dependent samples t-test) ผลวิจัยพบว่า 1. แผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 80.87/80.89 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. จิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The purposes of this research were to : 1) develop inquiry-based lesson plans of learning activity packages to promote scientific process skills and scientific mind of Prathomsuksa 4 students to achieve the efficiency of 80/80, 2) compare students’ learning achievement before and after the intervention, 3) compare students’ scientific process skills before and after the intervention, and 4) compare students’ scientific mind before and after the intervention. The sample, obtained through cluster random sampling, consisted of 30 students from Prathomsuksa 4 at Ban Lueam Community School in the second semester of the academic year 2020. The research instruments included: 1) six lesson plans, 2) a learning achievement test, 3) a scientific process skills test, and 4) a scientific mind scale. Percentage, mean, standard deviation and Dependent Samples t-test were used to analyze the data. The results of this research were as follows: 1. The developed lesson plans achieved the efficiency of 81.73/80.67, which met the defined criteria. 2. The post-intervention mean of students’ learning achievement was higher than that of the pre- intervention mean at the .05 level of significance. 3. The post-intervention mean of students’ scientific process skills was higher than that of the pre- intervention mean at the .05 level of significance. 4. The post- intervention mean of students’ scientific mind was higher than that of the pre- intervention mean at the .05 level of significance.

คำสำคัญ

การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้, ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์, จิตวิทยาศาสตร์

Keyword

Inquiry Cycle, Scientific Process Skill, Scientific Mind
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 2

วันนี้: 206

เมื่อวานนี้: 723

จำนวนครั้งการเข้าชม: 804,643

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033