...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2564
หน้า: 211-220
ประเภท: บทความวิจัย
View: 327
Download: 233
Download PDF
การศึกษาพัฒนาการด้านสติปัญญาและด้านสังคมของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา สาระการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว
A Study of Cognitive and Social Development of Early Childhood Using STEM Education Learning Experiences on the Strand of Nature Around You
ผู้แต่ง
นพรัตน์ เสาทอง และนฤมล ภูสิงห์
Author
Nopparat Saothong and Narumol Pusing

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย สาระการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาพัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา สาระการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว และ 3) เปรียบเทียบพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา สาระการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเขาบรเพ็ด ที่มีอายุระหว่าง 3-4 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 28 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา สำหรับเด็กปฐมวัย สาระการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว 2) แบบสังเกตพัฒนาการด้านสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย และ 3) แบบประเมินความพร้อมด้านสติปัญญาสำหรับเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานค่า t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1. แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย สาระการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว มีประสิทธิภาพ 82.01/81.03 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2. พัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัย โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา สาระการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ย 18.05 เมื่อวิเคราะห์คะแนนเฉลี่ยระหว่างช่วงสัปดาห์ พบว่า พัฒนาการทางด้านสังคมของเด็กปฐมวัยมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มสูงขึ้นตลอดทุกช่วงสัปดาห์ 3. พัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา สาระการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The purposes of this research were to: 1) develop STEM education learning experiences plans for early childhood on the strand of Nature Around You to reach the effectiveness criteria of 80/80, 2) examine early childhood social development of after the intervention, and 3) compare early childhood cognitive development before and after the intervention. The sample, obtained through simple random sampling, consisted of 28 early childhood students at Ban Khaoborraphet Child Development Center, aged 3-4 years in the second semester of the academic year 2020. The research instruments were: 1) STEM education learning experiences plans for early childhood on the strand of Nature Around You, 2) an observation form on the social development of early childhood, 3) a test on the cognitive development of early childhood. Statistics for data analysis were mean, percentage, and standard deviation. Dependent Samples t-test was also employed to test the hypothesis. The research findings revealed that: 1. The STEM education learning experiences plans for early childhood on the strand of Nature Around You had the efficiency of 82.1/81.03, which reached the expected criteria. 2. The overall social development of early childhood after the intervention was at the highest level with mean scores of 18.05. When analyzing the mean scores collected weekly throughout the study, the social development of early childhood had improved at each study week. 3. The cognitive development of early childhood after the intervention was higher than that of before the intervention at the .05 level of significance.

คำสำคัญ

สะเต็มศึกษา, พัฒนาการด้านสติปัญญาและด้านสังคมของเด็กปฐมวัย

Keyword

STEM Education, Cognitive and Social Development of Early Childhood
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 32

วันนี้: 424

เมื่อวานนี้: 1,746

จำนวนครั้งการเข้าชม: 970,159

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033