...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2564
หน้า: 119-129
ประเภท: บทความวิจัย
View: 168
Download: 83
Download PDF
การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยอาหารและสารเสพติด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้ แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
Development of Science Process Skills and Learning Achievement on the Unit of Food and Addictive Substance of Mathayomsuksa 2 Students by Using Problem-Based Learning and the Principles of Sufficiency Economy Philosophy
ผู้แต่ง
สุกัญญา วราพุฒ, อรุณรัตน์ คำแหงพล และถาดทอง ปานศุภวัชร
Author
Sukanya Waraput, Arunrat Khamhaengpol and Thardthong Pansuppawat

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างแผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 หน่วยอาหารและสารเสพติด ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ 4) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2/2561 โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และใช้สถิติทดสอบค่าที (T-test for Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หน่วยอาหารและสารเสพติด มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.97/83.83 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมากที่สุด (\bar{x} =  4.79, S.D. = 0.45)

Abstract

The purposes of this study were: 1) to establish lesson plans constructed based on problem-based learning and the principles of sufficiency economy philosophy on the unit of Food and Addictive Substance for Mathayomsuksa 2 students to meet the efficiency of 80/80, 2) to compare the science process skills of Mathayomsuksa 2 students’ before and after the intervention, 3) to compare Mathayomsuksa 2 students’ learning achievements before and after the intervention, and 4) to explore Mathayomsuksa 2 students’ satisfaction toward learning through the developed instructional management. The sample, selected by using cluster random sampling, consisted of a class of 30 Mathayomsuksa 2 students studying in the second semester of the academic year 2018 at Sakolrajwittayanukul school under the Secondary Educational Service Area Office 23. The research instruments included: 1) lesson plans constructed by using problem-based learning and the principles of sufficiency economy philosophy, 2) a test of students’ science process skills, 3) an achievement test, and 4) a student satisfaction questionnaire. The data were statistically analyzed by using mean, standard deviation, percentage, and t–test for Dependent Samples. The findings were as follows: 1. The developed lesson plans on the unit of Food and Addictive Substance based on problem- based learning and the principles of sufficiency economy philosophy for Mathayomsuksa 2 students had the efficiency of 82.97/83.83, which was higher than the set criteria of 80/80. 2.  The students’ science process skills after the intervention were higher than those of before the intervention at the .01 level of significance. 3.  The students’ learning achievement after the intervention was higher than that of before the intervention at the .01 level of significance. 4. The students’ satisfaction toward learning through the developed instructional management. was at the highest level (\bar{x} = 4.79, S.D. = 0.45).

คำสำคัญ

การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

Keyword

Problem-Based Learning, Sufficiency Economy Philosophy, Science Process Skills
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 2

วันนี้: 199

เมื่อวานนี้: 723

จำนวนครั้งการเข้าชม: 804,636

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033