บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบการส่งเสริมความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการส่งเสริมความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย และ 3) การขยายผลรูปแบบการส่งเสริมความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย ดำเนินการวิจัย 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์คุณลักษณะความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบการส่งเสริมความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย ระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการส่งเสริมความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย กลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กปฐมวัย อายุ 5–6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาลวัดเนินสุทธาวาส (สุทธิพงษ์ประชานุกูล) จำนวน 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบคะแนนความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยก่อนและระหว่างการทดลอง ใช้สถิติทดสอบ Wilcoxon Signed-Ranks Test และระยะที่ 4 การขยายผลรูปแบบการส่งเสริมความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย กลุ่มเป้าหมายเป็นครูปฐมวัยที่ปฏิบัติการสอนอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชลบุรี จำนวน 9 คน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ผลการสร้างรูปแบบการส่งเสริมความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย ขั้นเตรียมความพร้อม (G: Getting Ready) ขั้นเชื่อมโยงความรู้ (R: Relation) ขั้นสืบค้นหาความรู้ (A: Acquiring) ขั้นเรียนรู้ผ่านการเล่น (P: Play) ขั้นสรุปประมวลผล (H: Having Summarized) 2. ผลการใช้รูปแบบ พบว่า รูปแบบ GRAPH สามารถส่งเสริมความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย โดยมีคะแนนก่อนการทดลองและระหว่างการทดลอง มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ทุกช่วงการเปรียบเทียบ 3. การขยายผลรูปแบบการส่งเสริมความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย พบว่า ครูปฐมวัยมีความคิดเห็นต่อรูปแบบ GRAPH อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด
Abstract
The purposes of this research were: 1) to construct a model for promoting multiple intelligences abilities of early childhood, 2) to examine the effects after the model implementation, and 3) to determine the extension effects of the model implementation. This research consisted of four phases. Phase I: Studying and analyzing multiple intelligences abilities of early childhood; Phase II: Constructing a model for promoting multiple intelligences abilities of early childhood; Phase III: Examining the effects after the model implementation. The target group comprised 20 early childhoods between the ages of 5 and 6 years studying in the third-year kindergarten level at Watnernsuttawas Municipal School (Suttipongprachanukul)in the academic year 2019. Data analysis was done through mean, standard deviation, and Wilcoxon Signed-Ranks Test for comparing scores of multiple intelligences abilities before and during the intervention; and Phase IV: investigating the extension effects after the model implementation. The sample included nine early childhood’s teachers teaching at the third-year kindergarten level from schools under Chonburi Local Administrative Organization. The research results were summarized as followed: 1. The model for promoting multiple intelligences abilities of early childhood consisted of the following stages: Getting Ready (G), Relation (R), Acquiring (A), Play (P), and Having Summarized (H). 2. The effects of the model implementation revealed that the GRAPH model could promote the multiple intelligences abilities of early childhood. The scores before and during the implementation increased at the .05 level of significance in all aspects. 3. The extension effects of the model implementation revealed that the teachers rated their opinions toward the GRAPH model at the highest level of appropriateness.
คำสำคัญ
ความสามารถทางพหุปัญญา, เด็กปฐมวัยKeyword
Multiple Intelligences Abilities, Early Childhoodกำลังออนไลน์: 26
วันนี้: 335
เมื่อวานนี้: 1,746
จำนวนครั้งการเข้าชม: 970,070
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033