...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2564
หน้า: 67-80
ประเภท: บทความวิจัย
View: 191
Download: 71
Download PDF
การประเมินเพื่อการเรียนรู้ระดับความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง)
Assessment for Learning in Mathematics Problem Solving Proficiency Levels of Mathayomsuksa 1 Students, Demonstration School of Khon Kaen University, Secondary Section (Mor Din Daeng)
ผู้แต่ง
สำรวน ชินจันทึก, ประภาวดี สุวรรณไตรย์, พรพิทักษ์ จะริรัมย์, เกษราภรณ์ สรวลเส และพัชรี จันทร์เพ็ง
Author
Samruan Chinjunthuk, Prapawadee Suwannatrai, Pornpitak Jariram, Ketsaraporn Suanse and Putcharee Junpeng

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการประเมินเพื่อการเรียนรู้ระดับความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง) จำนวน 144 คน ที่มีการใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนร่วมกับวิธีการแบบเปิดในชั้นเรียน ภายใต้การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โมเดลเชิงโครงสร้างเป็นฐานในการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน จากการปฏัติการร่วมกันของครูคณิตศาสตร์ ดังนี้ 1) ร่วมกันพัฒนาแผนที่โครงสร้างของความสามารถในการแก้ปัญหา 2) ร่วมกันพัฒนาคำถามตามแผนที่โครงสร้างของความสามารถในการแก้ปัญหา 3) ร่วมกันให้คะแนนของผลลัพธ์การเรียนรู้ และ 4) ร่วมกันวิเคราะห์โมเดลเชิงโครงสร้างและการแปลผล การวิจัยครั้งนี้เป็นการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากสภาพจริงในชั้นเรียนโดยใช้การสัมภาษณ์จากแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและการสนทนากลุ่มกับครูและผู้บริหาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการถอดโปรโตคอลเพื่อสะท้อนการแก้ปัญหาของผู้เรียนในชั้นเรียนเกี่ยวกับเศษส่วน สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากแบบทดสอบรูปแบบผสม จำนวน 15 ข้อ ประกอบด้วย ปรนัย 10 ข้อ และอัตนัย 5 ข้อ โดยมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับแบบสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบราค เท่ากับ 0.84 วิเคราะห์และตีความข้อมูลโดยใช้โมเดลราส์ชเพื่อรายงานผลการประเมินเป็นภาพรวมและรายบุคคลผลการวิจัยพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีความสามารถอยู่ในระดับมีความรู้ แนวคิดและทักษะขั้นพื้นฐาน คิดเป็นร้อยละ 54  ซึ่งนักเรียนสามารถแก้ปัญหาโดยใช้หลักการบวกลบเศษส่วนที่มีส่วนเท่ากันได้ แต่เศษส่วนที่ส่วนไม่เท่ากันจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ คูณเศษส่วนได้ แต่หารเศษส่วนไม่ได้ และสามารถเปลี่ยนเศษเกินเป็นจำนวนคละ และเปลี่ยนจำนวนคละเป็นเศษเกินได้ นักเรียนสามารถจำสูตร กฎ ที่ง่าย ๆ ได้ แต่ไม่สามารถจำสูตรหรือกฎที่ซับซ้อนได้ นอกจากนี้พบว่ามีนักเรียนที่อยู่ในระดับขั้นสูงสุดที่สามารถคิดเชิงกลยุทธ์หรือคิดเชื่อมโยงได้ คิดเป็นร้อยละ 23.80 สะท้อนให้เห็นว่านักเรียนสามารถแก้โจทย์ปัญหาที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันที่คุ้นเคยและไม่คุ้นเคยได้ โดยมีการแสดงลำดับการคิดโดยเลือกใช้วิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับลักษณะของสถานการณ์ปัญหา และสามารถนำความรู้ไปเชื่อมโยงกับการแก้ปัญหาเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องได้ อย่างไรก็ตามมีนักเรียนจำนวนร้อยละ 22 ที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงและพัฒนาอย่างเร่งด่วนเพื่อเพิ่มเติมให้นักเรียนมีความรู้พื้นฐานและหลักการในเรื่องเศษส่วน ความรู้สึกเชิงจำนวน

Abstract

The purpose of this research was to assess the mathematics problem-solving proficiency levels on the topic of fractions of 144 Mathayomsuksa 1 students of Demonstration School of Khon Kaen University, Secondary Section (Mor Din Daeng). The Lesson Study and Open Approach were employed in a process of participatory action research using a structural model as a foundation for 4 stages through mathematics teachers’ participation as follow: 1) developing the progress map of problem-solving abilities, 2) developing question items according to the progress map, 3) giving scores for the learning outcomes, and 4) analyzing the structure model and results. This research collected authentic qualitative data in classrooms using semi-structured interviews and a focus group with teachers and administrators. The data analysis was done through a transcribed protocol to reflect the learners' problem-solving during lessons on fractions. The quantitative data was collected from a test consisting of 10 multiple-choice questions and 5 open-end questions, yielding a total of 15 questions. The reliability measured by Cronbach’s coefficient alpha was 0.84. The data were analyzed and interpreted using Rasch Model for class and individual reports. Results found that most of the students had knowledge, concept, and basic skills at 54 percent. Students were able to solve problems by adding or subtracting numerators with the same denominator, but not fractions with different denominators. They were able to multiply but not divide the fractions and were able to change improper fractions into mixed numbers and change mixed numbers into improper fractions. Students were able to remember easy formulas and rules, but were not able to remember complex formulas or rules. In addition, 23.80 percent of students had strategic thinking or extended thinking. This showed that students could solve problems that could be applied to familiar as well as unfamiliar problems in daily life while displaying thought by selecting suitable approaches to suit the problem characteristics and were able to connect their knowledge with other related problems. Nevertheless, 22 percent of students must urgently improve and be developed to gain basic knowledge and principles of fractions such as addition requires adding numerator to numerator and denominators to denominators, and number sense.

คำสำคัญ

การประเมินเพื่อการเรียนรู้, การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์

Keyword

Assessment for Learning, Mathematical Problem Solving
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 3

วันนี้: 154

เมื่อวานนี้: 723

จำนวนครั้งการเข้าชม: 804,591

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033