บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมกล่องงาน โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนบกพร่องทางสติปัญญา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันของนักเรียน ระหว่างก่อนและหลังที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมกล่องงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนบกพร่องทางสติปัญญา ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครพนม ปีการศึกษา 2562 อายุระหว่าง 5-10 ปี จำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมกล่องงาน 2) แผนการสอนเฉพาะบุคคลผล ผลการประเมินความเหมาะสมของชุดกิจกรรมกล่องงาน โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 และ 3) แบบประเมินความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน ผลการประเมินความเหมาะสมของแบบประเมินความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบแบบ Wilcoxon Sign Rank Test ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุดกิจกรรมกล่องงาน โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนบกพร่องทางสติปัญญา ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 90.00/92.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้ 2. ความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมกล่องงานสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract
The purposes of this research were: 1) to develop the task box activities packages using the instructional model of Simpson’s practice skills to enhance self-help ability in daily life of intellectually impaired children to meet the criteria set of 75/75, and 2) to compare self-help ability in daily life between before and after the intervention. A sample, derived from the purposive sampling, consisted of five intellectually impaired students between 5 and 10 years of age in the academic year 2019 at Nakhon Phanom Special Education Center. The research instruments were: 1) the task box activities packages, 2) individual implementation plans with the mean of appropriateness at 4.53, and 3) an assessment form on self-help ability in daily life with the mean of appropriateness at 4.56. Statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation and Wilcoxon Signed-Rank Test. The findings of this research were as follows: 1. The task box activities packages using the instructional model of Simpson’s practice skills to enhance self-help ability in daily life of intellectually impaired students had the efficiency of 90.00/92.00, which was higher than the criteria set of 75/75. 2. The intellectually impaired student’s self-help ability in daily life after the intervention was higher than that of before the intervention at the 0.05 of significance.
คำสำคัญ
ชุดกิจกรรมกล่องงาน, รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน, ความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันKeyword
Task Box Activities Packages, Instructional Model of Simpson’s Practice Skills, Self-Help Ability in Daily Lifeกำลังออนไลน์: 29
วันนี้: 398
เมื่อวานนี้: 1,746
จำนวนครั้งการเข้าชม: 970,133
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033