บทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงสํารวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการเรียนการสอนออนไลน์ในช่วงโควิด 19 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และบัณฑิตจบใหม่ สาขาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จำนวน 50 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษา สถิติที่ใช้ในงานวิจัยคือสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 76.0) ส่วนใหญ่เคยสอนในรูปแบบออนไลน์ (ร้อยละ 62.0) อุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนและการสอนออนไลน์ คือ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ และแท็บเล็ต (ร้อยละ 87.2, 76.6 และ 51.1 ตามลำดับ) ส่วนใหญ่ใช้อินเตอร์เน็ทในการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการเรียน และการพูดคุยทางออนไลน์ (ร้อยละ 96.0, 94.0 ตามลำดับ) และใช้ที่บ้านและหอพักเป็นสถานที่เรียนออนไลน์ (ร้อยละ 84.0, 68.0 ตามลำดับ) รูปแบบการเรียนที่นักศึกษาชอบมากที่สุด คือ การเรียนในชั้นเรียน รองลงมาคือ การเรียนออนไลน์แบบผสมผสาน (ร้อยละ 43.0, 41.0 ตามลําดับ) ผลความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนออนไลน์ พบว่า นักศึกษาค่อนข้างเห็นด้วยว่าเรียนออนไลน์ทําให้รู้สึกสะดวก ( = 3.80, S.D. = 1.06) และรู้สึกผ่อนคลายในการเรียนการสอนออนไลน์ ( = 3.54, S.D. = 1.15)
Abstract
The purposes of this survey research were to examine conditions and problems of online learning and teaching during the COVID-19 epidemic. The sample, obtained through purposive sampling, consisted of 50 student teachers with a Bachelor’s Degree and new graduates majoring in English from the Faculty of Education at Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage. The research instrument was a survey of student teachers’ opinions. A descriptive analysis and content analysis were used for data analysis. The results revealed that most of the students were female (76.0%). Most of them were taught in an online format (62.0%). The equipment used for learning and teaching online were computers, mobile phones and tablets (87.2%, 76.6% and 51.1, respectively). Most of them use the internet to search for information about their studies and online chat and use their homes and dormitories as an online place of study (96.0 percent, 94.0 percent, respectively). The most preferred learning style was lecture classrooms, followed by blended online learning (43.0 percent, 41.0 percent, respectively). The students agreed that they felt comfortable ( = 3.80, S.D. = 1.06) and relaxed ( = 3.54, S.D. = 1.15) with online learning and teaching.
คำสำคัญ
การเรียนการสอนออนไลน์, นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูKeyword
Online Teaching and Learning, Student Teachersกำลังออนไลน์: 26
วันนี้: 336
เมื่อวานนี้: 1,746
จำนวนครั้งการเข้าชม: 970,071
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033