...
...
เผยแพร่: 10 ม.ค. 2562
หน้า: 45-53
ประเภท: บทความวิจัย
View: 298
Download: 103
Download PDF
การพัฒนาห้องเรียนเสมือน โดยใช้การเรียนแบบผสมผสานร่วมกับวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น และผังกราฟิกที่ส่งผลต่อการคิดเชิงระบบ การคิดสร้างสรรค์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สร้างงานผ่านคอมพิวเตอร์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
The Development of Virtual Classroom Using Blended Learning in Conjunction with 7E Learning Cycle and Graphic Organizer Affecting Systems Thinking, Creative Thinking and Learning Achievement on Task Construction with Computers for Prathomsuksa 6 Students
ผู้แต่ง
ธงชัย ห้วยทราย, มารศรี กลางประพันธ์, สมเกียรติ พละจิตต์
Author
Thongchai Huaisai, Marasri Klangprapan, Somkiat Palajit

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาห้องเรียนเสมือนโดยใช้การเรียนแบบผสมผสานร่วมกับวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น และผังกราฟิก เรื่อง สร้างงานผ่านคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ KW-CAI เท่ากับร้อยละ 80 2) เปรียบเทียบการคิดเชิงระบบที่ได้รับการสอนด้วยห้องเรียนเสมือนโดยใช้การเรียนแบบผสมผสานร่วมกับ วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น และผังกราฟิก ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบการคิดสร้างสรรค์ที่ได้รับการสอนด้วยห้องเรียนเสมือนโดยใช้การเรียนแบบผสมผสานร่วมกับวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น และผังกราฟิกระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ได้รับการสอนด้วยห้องเรียนเสมือนโดยใช้การเรียนแบบผสมผสานร่วมกับวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น และผังกราฟิกระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 5) เปรียบเทียบการคิดเชิงระบบ การคิดสร้างสรรค์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีทักษะปฏิบัติต่างกัน (สูง ปานกลาง และต่ำ) หลังได้รับการสอนด้วยห้องเรียนเสมือนโดยใช้การเรียนแบบผสมผสานร่วมกับวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น และผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนบ้านคำผักหนอกสงเปือย เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาสะพานมิตรภาพ จำนวน  21 คน ได้มาด้วยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ห้องเรียนเสมือนโดยใช้การเรียนแบบผสมผสานร่วมกับวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น และผังกราฟิก 2) แบบทดสอบวัดการคิดเชิงระบบ 3) แบบทดสอบวัดการคิดสร้างสรรค์ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 5) แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t–test for Dependent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณร่วมทางเดียว (One-Way MANCOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว (One-Way ANCOVA)

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

1. ห้องเรียนเสมือนโดยใช้การเรียนแบบผสมผสานร่วมกับวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น และผังกราฟิก เรื่อง สร้างงานผ่านคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ KW-CAI เท่ากับ 90.01

2. การคิดเชิงระบบของนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยห้องเรียนเสมือนโดยใช้การเรียนแบบผสมผสานร่วมกับวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น และผังกราฟิก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

3. การคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยห้องเรียนเสมือนโดยใช้การเรียนแบบผสมผสานร่วมกับวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น และผังกราฟิก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยห้องเรียนเสมือนโดยใช้การเรียนแบบผสมผสานร่วมกับวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น และผังกราฟิก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

5. การคิดเชิงระบบ การคิดสร้างสรรค์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนที่มีทักษะปฏิบัติต่างกัน (สูง ปานกลาง และต่ำ) หลังได้รับการสอนด้วยห้องเรียนเสมือนโดยใช้การเรียนแบบผสมผสานร่วมกับวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น และผังกราฟิก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The purpose of this research was to: 1) Develop a virtual classroom using blended learning in conjunction with a 7E learning cycle and graphic Organizer for Prathomsuksa 6 students, to gain an 80 percent of KW-CAI efficiency; 2) Compare student systems thinking before and after the intervention; 3) Compare student creative thinking before and after the intervention; 4) compare student learning achievement before and after the intervention; and 5) compare systems thinking, creative thinking and learning achievements of students with different levels of practice skill (high, moderate and low) after the intervention. The subjects, obtained from cluster random sampling technique, were 21 students from Prathomsuksa 6 in the second semester of the 2014 academic year at Bankampaknongsongpuay school under the Saphan Mittraphap Educational Quality Development Network. The research instruments were: 1) the virtual classroom using blended learning in conjunction with a 7E learning cycle and graphic organizer, 2) a test of systems thinking, 3) a test of Creative thinking, 4) a learning achievement test, and 5) a form for assessing practice skills. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation, t–test (Dependent Samples), One-way ANOVA, One-way MACOVA and One-way ANCOVA.

The findings were as follows:

1. The virtual classroom using blended learning in conjunction with a 7E learning cycle and graphic organizer, on Task Construction with Computers for Prathomsuksa 6 Students, achieved a good level of KW-CAI efficiency at 90.01 percent.

2. The post-intervention mean scores of students’ systems thinking were higher than those of before the intervention at the .05 level of statistical significance.

3. The post-intervention mean scores of students’ creative thinking were higher than those of before the intervention at the .05 level of statistical significance.

4. The post-intervention mean scores of students’ learning achievements were higher than those of before the intervention at the.05 level of statistical significance.

5. The post-intervention mean scores of systems thinking, creative and learning achievements of students with different levels of practice skill were higher than those of before the intervention at the .05 level of statistical significance.

คำสำคัญ

ห้องเรียนเสมือน, การเรียนแบบผสมผสาน, วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น, ผังกราฟิก, การคิดเชิงระบบ, การคิดสร้างสรรค์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

Keyword

Virtual Classroom, Blended Learning, 7E Learning Cycle, Graphic Organizer, Systems Thinking, Creative Thinking, Learning Achievement
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 4

วันนี้: 119

เมื่อวานนี้: 600

จำนวนครั้งการเข้าชม: 789,052

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033