บทคัดย่อ
ในโลกที่เต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการแพร่ระบาดของการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 (COVID-19) เป็นวิกฤตที่กระตุ้นให้การศึกษาของไทย จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา วงการศึกษาและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งผู้ปกครอง นักเรียน ผู้บริหาร ครู นักวิชาการ และทุกภาคส่วนต้องปรับกระบวนทัศน์ กระบวนการ วิธี วิถีคิดให้อยู่รอดได้ และเป็นโอกาส ที่จะได้ทบทวนความท้าทาย เพื่อก้าวต่อไปข้างหน้า โดยใช้บทเรียนจากนานาชาติ ปรับประยุกต์ให้เหมาะสมกับบริบทที่แท้จริง ซึ่งผู้เรียนที่เกิดในยุคหลังปี ค.ศ. 1996 (พ.ศ. 2539) มีศักยภาพที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง นำตนเอง มีเหตุผล มีจุดสนใจและสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ร่วมกันกับผู้อื่น มีศักยภาพที่จะเรียนรู้เป็นรายบุคคล และมีการแสดงออกอย่างมีวิจารณญาณ จากสถานการณ์วิกฤตดังกล่าว ทำให้เห็นว่าประเทศไทยมีมาตรการรองรับการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายและมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับก่อนเปิดภาคเรียน มีการวางแผนการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ และวิธีการต่าง ๆ มากมาย โดยมุ่งเน้นเป้าหมายให้การศึกษาเป็นเครื่องมือเพื่อยกระดับคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการเรียนรู้ของเด็กไทย
Abstract
Thai educational changes need to adapt to a fast-changing world, including taking into account the widespread effects of the coronavirus in 2019. Educational areas and stakeholders, including parents, students, administrator, teachers, academics must shift paradigms, processes, approaches, and ways of thinking to survive. This shift will create opportunities to move forward using international lessons adapted to fit in a Thai context. Learners born after 1996 (B.E. 2539) have the potential to be self-directed, rational, with a focus on choice of learning. Participation in these learning changes has the potential to enhance individual learning by focusing on education as a tool to enhance the quality of human resources to support the learning of Thai children in an era dominated by COVID-19 epidemic. From the aforementioned crisis, it is seen that Thailand has various measures to support a wide range of teaching and learning management and preparation before the semester begins. Online teaching and learning management should be planned through various digital platforms and methods.
คำสำคัญ
ความท้าทาย, ขอบแดนใหม่แห่งการเรียนรู้, ยุควิถีใหม่Keyword
Challenges, New Realm of Learning, New Normalกำลังออนไลน์: 12
วันนี้: 681
เมื่อวานนี้: 1,300
จำนวนครั้งการเข้าชม: 971,716
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033