...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2564
หน้า: 109-123
ประเภท: บทความวิจัย
View: 210
Download: 100
Download PDF
ความสามารถการเรียนภาษาอังกฤษ ความต้องการด้านภาษา ปัญหาในการเรียนภาษาอังกฤษและทัศนคติในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาปริญญาโท สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
English Proficiency, Problems in Learning English and Attitudes toward Learning English of Graduate Students at Thai-Nichi Institute of Technology
ผู้แต่ง
บัณฑิต อนุญาหงษ์
Author
Bundit Anuyahong

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถการเรียนภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาปริญญาโท 2) เปรียบเทียบความสามารถการเรียนภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาปริญญาโท จำแนกตามสาขาวิชาที่ศึกษา 3) ประเมินตนเองเกี่ยวกับความสามารถการเรียนภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาปริญญาโท 4) ประเมินตนเองเกี่ยวกับความต้องการด้านภาษาของนักศึกษาปริญญาโท 5) ประเมินตนเองเกี่ยวกับความต้องการด้านสื่อการสอนของนักศึกษาปริญญาโท 6) ประเมินตนเองเกี่ยวกับความปัญหาในการเรียนภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาปริญญาโท และ 7) ประเมินตนเองเกี่ยวกับทัศนคติในการเรียนภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาปริญญาโท กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาปริญญาโท สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น จำนวน 55 คน ภาคการศึกษาที่ 3 ปีการศึกษา 2557 ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบทดสอบความสามารถทางการเรียนภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (\bar{x}) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนความสามารถการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาปริญญาโทโดยรวมอยู่ในระดับสูง (72.60%) 2. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาปริญญาโท สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น อยู่ที่ 43.85 (จากคะแนนเต็ม 60) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า นักศึกษาสาขา MIM มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด 45.09 รองลงมา ได้แก่ นักศึกษาสาขา MET มีคะแนนเฉลี่ย 43.55 ส่วนสาขาวิชาที่มีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ นักศึกษาสาขา EEM มีคะแนนเฉลี่ย 42.92 ตามลำดับ 3. นักศึกษาปริญญาโท สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น มีการประเมินตนเองด้านการประเมินความสามารถการเรียนภาษาอังกฤษ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 4. นักศึกษาปริญญาโท สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น มีการประเมินตนเอง ด้านความต้องการด้านภาษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 5. นักศึกษาปริญญาโท สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น มีการประเมินตนเอง ด้านความต้องการด้านสื่อการสอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 6. นักศึกษาปริญญาโท สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น มีการประเมินตนเอง ด้านปัญหาในการเรียนภาษาอังกฤษ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 7. นักศึกษาปริญญาโท สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น มีการประเมินตนเอง ด้านทัศนคติในการเรียนภาษาอังกฤษ โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Abstract

The purposes of this research were 1) to study English language ability of graduate students at Thai-Nichi Institute of Technology (TNI), 2) to compare English language ability of graduate students according to academic majors, 3) to self-assess English proficiency of graduate students, 4) to self-assess  language needs of graduate students, 5) to self-assess needs in instructional media of graduate students, 6) to self-assess problems in learning English of graduate students, and 7) to self-assess attitude of graduate students toward leanring English. Research samples were 55 TNI graduate students in the summer semester of the 2014 academic year, derived through simple random sampling technique. The instruments for data collection consisted of self-assessment questionnaires using 5- point rating scale, and an English proficiency test. The statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, and standard deviation. The research findings were as follows: 1.  English proficiency of graduate students were overall at a high level (72.60%). 2. The comparison result of mean scores of graduate students’ English proficiency was at a whole of 43.85 (out of 60). When considering each aspect, MIM major students’ mean scores was at the highest level (45.09), followed by MET major students (43.55), and EEM students at the lowest level (42.92). 3. English proficiency of graduate students regarding self-assessment as a whole was at a moderate level. 4. Language needs of graduate students regarding self-assessment as a whole was at the highest level. 5. Needs for Instructional media of graduate students regarding self-assessment as a whole was at the high level. 6. Problems in learning English of graduate students regarding self-assessment as a whole was at a high level. 7. Attitudes in learning English of graduate students regarding self-assessment as a whole was at a high level.

คำสำคัญ

ความสามารถการเรียนภาษาอังกฤษ, ความต้องการด้านภาษา, ปัญหาในการเรียนภาษาอังกฤษ, ทัศนคติในการเรียนภาษาอังกฤษ

Keyword

English Proficiency, Problems in Learning English, Attitudes toward Learning English
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 5

วันนี้: 48

เมื่อวานนี้: 522

จำนวนครั้งการเข้าชม: 797,196

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033