...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2564
หน้า: 69-77
ประเภท: บทความวิจัย
View: 249
Download: 216
Download PDF
การพัฒนาตัวบ่งชี้ความฉลาดทางอารมณ์ของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
Development of Emotional Quotient Indicators of Trachers in Bueng Kan Primary Educational Service Area Office
ผู้แต่ง
วิราพร โพธิ์ไทรย์, วันเพ็ญ นันทะศรี, อภิสิทธิ์ สมศรีสุข
Author
Wiraporn Phosai, Wanphen Nanthasri, Aphisit Somsrisuk

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้ความฉลาดทางอารมณ์ของครู และ 2) ตรวจสอบความความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้ความฉลาดทางอารมณ์ของครูที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ วิธีดำเนินการ มี 2 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การพัฒนาตัวบ่งชี้ความฉลาดทางอารมณ์ของครู โดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัย จัดทำกรอบแนวคิดและพัฒนาตัวบ่งชี้ และระยะที่ 2 การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างความฉลาดทางอารมณ์ของครู กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำนวน 451 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้อัตราส่วนจำนวนกลุ่มตัวอย่างกับพารามิเตอร์ 20:1 วิธีการได้มาของกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi–stage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง 0.67–1.00 มีค่าอำนาจจำแนก 0.13-0.62 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ โดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของ Cronbach เท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ตัวบ่งชี้ความฉลาดทางอารมณ์ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก 16 องค์ประกอบย่อย 94 ตัวบ่งชี้ โดยมีองค์ประกอบดังนี้ 1) ด้านการตระหนักรู้ตนเอง 2) ด้านการควบคุมอารมณ์ตนเอง 3) ด้านการสร้างแรงจูงใจให้แก่ตนเอง 4) ด้านการเข้าใจอารมณ์ของผู้อื่น และ 5) ด้านการมีทักษะทางสังคม 2. โมเดลโครงสร้างความฉลาดทางอารมณ์ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 57.70, df = 59, ค่า p = 0.52, ค่า GFI = 0.98, ค่า AGFI = 0.96, ค่า RMSEA = 0.00)

Abstract

The research aimed to: 1) develop emotional quotient indicators of teachers, and 2) examine the congruence of the developed emotional quotient indicator model of teachers with the empirical data. The research procedures were divided into two phases. The first phase was the development of the emotional quotient indicators of teachers using the document and research analysis, research framework determination and indicator development. The second phase was the investigation of the congruence of the emotional quotient structural model of teachers. The samples comprised 451 teachers in schools under the Bueng Kan Primary Educational Service Area Office. The sample size was determined by using a-sample size-to-parameters ratio of 20:1, and multi–stage random sampling. The instrument for data collection was a 5-rating scale questionnaire which obtained the IOC index between 0.67 and 1.00, and a discriminative power index between 0.13 and 0.62. The reliability evaluated using Cronbach's Alpha Coefficient was 0.95. The data analysis was done through percentage, standard deveiation, and Chi-square. The findings showed that: 1. The emotional quotient indicators of teachers in schools under the Bueng Kan Primary Educational Service Area Office comprised five components, 16 sub-components and 94 indicators. The five components were: 1) self-awareness, 2) self-emotional control, 3) self-motivation, 4) emotional understanding of others, and 5) social skills. 2. The emotional quotient structural model of teachers in schools under the Bueng Kan Primary Educational Service Area Office was congruence with the empirical data (Chi-square = 57.70, df = 59, p = 0.52, GFI = 0.98, AGFI = 0.96, RMSEA = 0.00).

คำสำคัญ

การพัฒนาตัวบ่งชี้, ความฉลาดทางอารมณ์

Keyword

Indicator Development, Emotional Quotient
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 8

วันนี้: 642

เมื่อวานนี้: 1,300

จำนวนครั้งการเข้าชม: 971,677

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033