บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการเกี่ยวกับการจัดรูปแบบวิทยานิพนธ์ สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของบทเรียนออนไลน์แบบสาธิตและฝึกปฏิบัติ เรื่อง การจัดรูปแบบวิทยานิพนธ์ สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนออนไลน์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ปีการศึกษา 2561 จำนวน 170 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการเกี่ยวกับการจัดรูปแบบวิทยานิพนธ์ บทเรียนออนไลน์ แบบประเมินคุณภาพของบทเรียนออนไลน์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ระหว่าง 20-30 ปี กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาโท เคยดูวิธีการจัดรูปแบบผ่านทางคลิปออนไลน์ มีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ในการพิมพ์งานเอกสารได้อยู่ในระดับน้อยและสามารถใช้อินเทอร์เน็ตจากมือถือได้ เคยขอคำแนะนำจากผู้รู้ในการจัดรูปแบบวิทยานิพนธ์บ้างแต่เป็นส่วนน้อย นักศึกษายังจัดรูปแบบได้ไม่ถูกต้อง ถึงแม้จะมีคู่มือการทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งอยู่ในรูปเอกสารแล้ว จึงเป็นปัญหาอย่างมากในการจัดการเรียนการสอน นักศึกษาต้องการให้สำนักงานบัณฑิตวิทยาลัยให้บริการคำแนะนำในการจัดรูปแบบวิทยานิพนธ์หลากหลายช่องทาง ได้แก่ VDO CALL, TEMPLATE, VDO, Website, YouTube, Facebook แนะนำตัวต่อตัว โทรศัพท์ และจัดอบรม และเห็นด้วยกับการนำบทเรียนออนไลน์มาเป็นสื่อในการแนะนำการจัดรูปแบบวิทยานิพนธ์ 2. บทเรียนออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นมีลักษณะเป็นสื่อการเรียนการสอนเกี่ยวกับการจัดรูปแบบวิทยานิพนธ์ สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง นักศึกษาจะได้ศึกษาและฝึกปฏิบัติทีละขั้นตอนตามความสามารถและความสนใจของตนเอง โดยไม่จำกัดทั้งเวลาและสถานที่ ผู้วิจัยได้พัฒนาบทเรียนออนไลน์ขึ้นเองจากโปรแกรม Snagit และอัปโหลดลง YouTube เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าถึง นำไปใช้งานได้ง่าย สะดวก บทเรียนนี้มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ เนื้อหา การบริหารจัดการเรียนรู้ การสื่อสาร และการวัดประเมินผล มีเนื้อหาทั้งหมด 7 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ 1) การตั้งค่าการเว้นขอบกระดาษตามรูปแบบคู่มือวิทยานิพนธ์ 2) การตั้งค่ารูปแบบตัวอักษร และระยะห่างบรรทัด 3) การตั้งค่าเลขกำกับหน้า 4) การตั้งค่าการวางหัวข้อเนื้อหาและขนาดอักษร 5) การตั้งค่าการย่อหน้า (แท็บ) 6) การลงรายการอ้างอิงในเนื้อหาและบรรณานุกรมตามรูปแบบคู่มือวิทยานิพนธ์ และ 7) การตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมทางวิชาการ (อักขราวิสุทธิ์) ผลการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า บทเรียนออนไลน์นี้มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.89, S.D. = 0.08) 3. ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนออนไลน์อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D. = 0.53)
Abstract
The purposes of this research were to: 1) examine the current conditions, problems, and needs for thesis formatting for Sakon Nakhon Rajabhat University (SNRU) postgraduate students, 2) develop and validate the demonstration and training online lessons entitled Thesis Formatting for SNRU Postgraduate Students, and 3) explore the postgraduate students’ satisfaction toward the developed online lessons. The research instruments were a set of questionnaires examining current conditions, problems, and needs for thesis formatting, online lessons, an assessment form of online lessons, and a form of postgraduate students’ satisfaction toward online lessons. Statistics for data analysis included mean, percentage, and standard deviation. The findings were as follows: 1. Majority of respondents were female in the 20-30 years age group, and enrolled at a master’s degree level at SNRU. Respondents were screened to ensure that they accessed the thesis format contents via online video clip tutorials, used a computer for typing documents at a low level, accessed the Internet through mobile phones, and requested suggestions for formatting theses from experts at a minimal level. Despite the fact that paper-based thesis handbooks were distributed to individual postgraduate students, the format and style of their theses did not conform to the requirements of the thesis formatting guidelines. These encountered challenges could cause hindrance in teaching and learning management. The respondents also expressed the needs of different types of the communication channels: VDO Call, Templets, VDO, Website, YouTube, Facebook, face to face, telephoning, and trainings, and agreed on providing online lessons as a media for thesis formatting guidelines. 2. The developed online lesson plans were featured as teaching and learning medias concerning thesis format for SNRU postgraduate students, designed to use of the Internet network for autonomous learning. The students could choose to study and practice in each step according to their abilities and interests anytime and anywhere. The developed online lessons were created using the Snagit program, made available and offered easy access through YouTube. The four elements of the developed online lessons involved contents, learning management, communication, and measurement and evaluation. The contents comprised seven learning units: 1) Margins, 2) Fonts and Spacing, 3) Page Numbering, 4) Headers and Font Size, 5) Alignment and Indentation, 6) References and Citations, and 7) Checking submitted documents through a plagiarism detection program (Akarawisut). The quality evaluation of the developed online lessons was performed by experts and showed the lessons to be of the highest level of quality (= 4.89, S.D. = 0.08). 3. The students’ satisfaction toward online learning lessons was at the highest level ( = 4.53, S.D. = 0.53).
คำสำคัญ
การพัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบสาธิตและฝึกปฏิบัติ, การจัดรูปแบบวิทยานิพนธ์Keyword
Demonstration and Training Online Lessons, Thesis Formattingกำลังออนไลน์: 9
วันนี้: 643
เมื่อวานนี้: 1,300
จำนวนครั้งการเข้าชม: 971,678
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033