...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2564
หน้า: 41-50
ประเภท: บทความวิจัย
View: 187
Download: 99
Download PDF
การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
Development of Instructional Activities Based on Blended Learning for the C Programming Course for Mathayomsuksa 6 Students
ผู้แต่ง
วาสนา บุญชิต, อุษา ปราบหงษ์, นิติธาร ชูทรัพย์
Author
Wasana Boonchit, Usa Prabhong, Nititan Choosup

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ตรวจสอบประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนการสอน ตามเกณฑ์ดัชนีประสิทธิผลร้อยละ 50 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน ด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น 4) เปรียบเทียบความสามารถในการรู้สารสนเทศของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอน และ 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนจุมจังพลังราษฎร์ อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนการสอน จำนวน 8 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ จำนวน 40 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .912 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการรู้สารสนเทศ จำนวน 30 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .878 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 21 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .814 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที แบบกลุ่มไม่อิสระกัน (Dependent Samples t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีค่าเท่ากับ 82.08/81.83 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ 80/80 2. ดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีค่าเท่ากับ 0.7017 คิดเป็นร้อยละ 70.17 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่อย่างน้อยร้อยละ 50 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ความสามารถในการรู้สารสนเทศของนักเรียนหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด (\bar{x} = 4.52, S.D. = 0.66)

Abstract

The purposes of this research were: 1) to develop and validate the effectiveness of instructional activities based on blended learning for the C programming course for Mathayomsuksa 6 students to meet the criteria of 80/80, 2) to examine the effectiveness index of the developed instructional activities based on the criteria of 50 percent, 3) to compare students’ learning achievement before and after the intervention, 4) to compare students’ information literacy ability before and after the intervention, and 5) to explore students’ satisfaction toward learning through the developed instructional activities. The sample, obtained through cluster random sampling, was 30 students of Mathayomsuksa 6/1 in the second semester of the 2019 academic year at Jumjang Palangraj School, Kuchinarai district, Kalasin province. The research tools consisted of: 1) eight lesson plans, 2) a 40-item learning achievement test with the reliability of .912, 3) a 30-item information literacy ability test with the reliability of .878, and 4) a 21-item satisfaction questionnaire with the reliability of .814. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and dependent samples t-test. The findings were as follows: 1. The efficiency of the developed instructional activities was 82.08/81.83, which met the set criteria of 80/80. 2. The effectiveness index of the developed instructional activities achieved 0.7017 or 70.17 percent, which met the defined criteria of at least 50 percent. 3. The students’ learning achievement after the intervention was higher than the pre-intervention at the .01 level of statistical significance. 4. The students’ information literacy ability after the intervention was higher than the pre-intervention at the .01 level of statistical significance. 5. The students’ satisfaction after learning through the developed instruction activities was at the highest level (\bar{x} = 4.52, S.D. = 0.66).

คำสำคัญ

การเรียนรู้แบบผสมผสาน, การรู้สารสนเทศ, วิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซี

Keyword

Blended Learning, Information Literacy, C Programming Course
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 2

วันนี้: 439

เมื่อวานนี้: 467

จำนวนครั้งการเข้าชม: 801,716

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033