...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2564
หน้า: 21-29
ประเภท: บทความวิจัย
View: 219
Download: 101
Download PDF
แนวทางการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน รายวิชาการสอนศาสนาและวัฒนธรรมในระดับประถมศึกษา สำหรับนักศึกษาสาขาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
Guidelines for Designing Research-Based Learning Activities in the Subject Teaching Religion and Culture at the Elementary Level for Learners in Elementary Education Program, Faculty of Education, Surindra Rajabhat University
ผู้แต่ง
สุพัตรา คำสุข, เกื้อ กระแสโสม
Author
Supattra Kamsuk, Guah Grasaresom

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัย เรื่องการพัฒนาการเรียนรู้รายวิชาการสอนศาสนาและวัฒนธรรมในระดับประถมศึกษาโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน สำหรับนักศึกษาสาขาการประถมศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน รายวิชาการสอนศาสนาและวัฒนธรรมในระดับประถมศึกษา สำหรับนักศึกษาสาขาการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 45 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน หาคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักการหาความตรงของเนื้อหา (Content validity) ด้วยดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์การเรียนรู้ (Item-Objective Congruence Index : IOC) โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ผลการพิจารณาความสอดคล้องมีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 0.87-0.88 แสดงว่าแผนจัดการเรียนรู้ทั้ง 5 แผน มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการศึกษา นอกจากนี้ผลการประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ทั้ง 5 แผนอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ค่าเฉลี่ยต่ำสุด 4.79 และสูงสุด 4.86 ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน รายวิชาการสอนศาสนาและวัฒนธรรมในระดับประถมศึกษา มีแนวทางสำคัญ 3 แนวทาง ดังนี้ 1) การออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานรายวิชาการสอนศาสนาและวัฒนธรรมในระดับประถมศึกษา มีรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นพัฒนาทักษะพื้นฐานการวิจัยตามแนวทางของ สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และทัศนีย์ บุญเติม (2537) โดยใช้ระดับการสอนตั้งแต่ระดับที่ 1 ถึงระดับที่ 5 2) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละกิจกรรม พิจารณาจากระดับของการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน (RBL) ร่วมกับการพัฒนาทักษะพื้นฐานการวิจัย และ 3) เพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ผู้วิจัยจึงได้ออกแบบและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน จำนวน 5 แผน ใช้เวลาสอน 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 32 ชั่วโมง

Abstract

This research article was part of the research on “Development of Learning in the Subject Teaching Religion and Culture at the Elementary Level Using Research-Based Learning for Learners in Elementary Education Program”. Its objective was to design research-based learning activities in the subject “Teaching Religion and Culture at the Elementary Level” for Learners in Elementary Education Program, Faculty of Education, Surindra Rajabhat University. The sample used in this research was 45 third year learners in the Bachelor of Education, Elementary Education Program, Surindra Rajabhat University, the academic year 2019, obtained by cluster random sampling. The instruments used in the research were 5 learning plans which assessed the quality of them using the content validity principle with the consistency index between questions and learning objectives (Item-Objective Congruence Index : IOC)  by 5 experts. The results of being considered for consistency average ranged from 0.87-0.88, indicating that the 5 learning plans were consistent with the educational objectives. In addition, the evaluation results of the 5 learning plans were at the most appropriate level, with a minimum of 4.79 and a maximum of 4.86. The findings were as follows : There were 3 ways of guidelines for designing research-based learning activities in the subject Teaching Religion and Culture at the Elementary Level: 1) the design of research-based learning activities in the subject Teaching Religion and Culture at the Elementary Level had a model of learning activities focused on developing basic research skills according to Somwung Pitiyanuwat and Tassanee Boonterm (1994) through the teaching level from 1 to 5, 2) The design of learning management in each activity based on the level of research-based learning (RBL) combined with the development of basic research skills, and 3) in order to achieve the learning activities management in accordance with the curriculum objectives, five research-based learning plans had been developed, using teaching time 8 weeks, 4 hours a week, totally 32 hours.

คำสำคัญ

การเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน, การสอนศาสนาและวัฒนธรรม, การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้

Keyword

Teaching Religion and Culture in Elementary Level, Research-Based Learning
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 6

วันนี้: 122

เมื่อวานนี้: 467

จำนวนครั้งการเข้าชม: 801,399

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033