...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2564
หน้า: 1-9
ประเภท: บทความวิจัย
View: 473
Download: 219
Download PDF
การพัฒนาหลักสูตรนวัตกรรมการเรียนการสอนผลิตภาพเชิงสร้างสรรค์ บนฐานแหล่งเรียนรู้สมุนไพรท้องถิ่น
Development of the Curriculum for Creative production instructional innovation obased on the local herbal learning resources
ผู้แต่ง
เดือนเพ็ญพร ชัยภักดี
Author
Duanpenporn Chaipugdee

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลแหล่งเรียนรู้สมุนไพรท้องถิ่น 2) พัฒนาหลักสูตรนวัตกรรมการเรียนการสอนผลิตภาพเชิงสร้างสรรค์ บนฐานแหล่งเรียนรู้สมุนไพรท้องถิ่น 3) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรนวัตกรรมการเรียนการสอนผลิตภาพเชิงสร้างสรรค์ บนฐานใช้แหล่งเรียนรู้สมุนไพรท้องถิ่น และ 4) สังเคราะห์รูปแบบนวัตกรรมการเรียนการสอนผลิตภาพเชิงสร้างสรรค์ บนฐานแหล่งเรียนรู้สมุนไพรท้องถิ่น กลุ่มเป้าหมาย 48 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสำรวจข้อมูลพื้นฐาน แบบสัมภาษณ์ ประเด็นการสนทนากลุ่ม แบบประเมินหลักสูตรด้านเนื้อหาในหลักสูตรและด้านผลผลิต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. พื้นที่วิจัยในชุมชนที่มีแหล่งเรียนรู้สมุนไพรท้องถิ่นมีความเหมาะสมแก่การพัฒนาหลักสูตรนวัตกรรมการเรียนการสอน 2. การพัฒนาหลักสูตรนวัตกรรมการเรียนการสอนผลิตภาพเชิงสร้างสรรค์ ด้านเนื้อหาประกอบด้วย หลักการและแนวคิด กำหนดจุดมุ่งหมาย กำหนดเนื้อหาสาระ (หน่วยการเรียนรู้) กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ สื่อ นวัตกรรมการเรียนการสอน/แหล่งเรียนรู้ ระยะเวลา การติดตามและประเมินผล 3. ผลการใช้หลักสูตรนวัตกรรมการเรียนรู้ผลิตภาพเชิงสร้างสรรค์ บนฐานแหล่งเรียนรู้สมุนไพรท้องถิ่น พบว่า กลุ่มเป้าหมายที่ใช้หลักสูตรนวัตกรรมการเรียนการสอนผลิตภาพเชิงสร้างสรรค์ ร่วมกิจกรรมบูรณาการ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ผลงานหรือชิ้นงาน ชุมชนมีส่วนร่วมกับวางแผน ร่วมดำเนินงาน ร่วมในการประเมินผล ผลงานที่สะท้อนความคิดสร้างสรรค์ และเกิดความภาคภูมิใจในชิ้นงานของตนเอง มีความเข้าใจในกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับแหล่งเรียนรู้สมุนไพรท้องถิ่น 4. รูปแบบนวัตกรรมการเรียนการสอนผลิตภาพเชิงสร้างสรรค์ บนฐานแหล่งเรียนรู้สมุนไพรท้องถิ่น ประกอบด้วย 1) หลักการพัฒนานวัตกรรมแบบมีส่วนร่วม 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ คือ เพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนผลิตภาพเชิงสร้างสรรค์ 3) ขั้นตอนรูปแบบ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน (1) ร่วมการวิเคราะห์บริบทชุมชน (2) ร่วมการสร้างความเข้าใจ (3) ร่วมวางแผนและออกแบบพัฒนานวัตกรรม (4) ร่วมเรียนรู้กิจกรรม (5) ร่วมนำเสนอผล (6)ร่วมประเมินผลย้อนกลับข้อมูล (7) ร่วมขยายผลและสร้างเครือข่ายออนไลน์ เงื่อนไข/ปัจจัย/ตัวบ่งชี้สู่ความยั่งยืน ได้แก่ (1) องค์ความรู้ด้านนวัตกรรมการเรียนการสอนผลิตภาพเชิงสร้างสรรค์และแหล่งเรียนรู้สมุนไพรท้องถิ่นของเครือข่าย (2) สถานศึกษานอกระบบในระบบนำไปใช้ (3) เครือข่ายและชุมชนบูรณาการการเรียนการสอนสู่สถานศึกษานอกระบบและในระบบของสถานการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Abstract

This research was research and development. Which ainsed to; 1) analyze and synthesize information on local herbal learning resources, 2) develop the curriculum for creative production instruction innovation based on the local herbal learning resources, 3) study the results of using the developed curriculum and 4) synthesize the model for creative production instruction innovation based on the local herbal learning resources. The target group was 48 people. The research instruments were basic data survey, questionnaires, group discussion, curriculum content evaluation form and product evaluation form. Qualitative data were analyzed using content analysis. Research Result 1. Research areas in the community, local herbal learning resources that were suitable for the curriculum development. 2. The content curriculum for creative production instnrctional innovation consisted of principles and concepts, set objectives, determine content (learning unit), learning management activities, media, teaching innovation/learning resources, duration, monitoring and evaluation. 3. The results of using the curriculum found that the target group had participated in the integrational activities, student development activities, student works. The communities had participated in planning, co-operation, and assessments. The works reflected creativity and pride in one’s work. In addition, the target group also had an understanding of the learning process linked to the local herbal resources. 4. The model for creative production educational innovation based on the local herbal learning resources  consisted of; 1) principles for participatory innovation development, 2) the purpose of the model was to develop  creative production instnrctional innovation, 3) the model process consisted of 7 steps; (1) participatory community context analysis, (2) creat understanding with participation, (3) plan and design participatory innovation development, (4) learn activities with participation, (5) present the results with participation, (6) evaluate  feedback with participation, (7) expand the results and create an online network with participation, 4) conditions/factors/indicators for sustainability, including (1) Knowledge of creative production educational innovation and local herbal learning resources of the network, (2) non-formal and formal schools have applied the knowledge, (3) the network and the community have integrated the instruction to the non-formal and formal schools of the basic education institutions.

คำสำคัญ

หลักสูตรนวัตกรรมการเรียนการสอน, ผลิตภาพเชิงสร้างสรรค์, แหล่งเรียนรู้สมุนไพรท้องถิ่น

Keyword

Instrctional innovation cirriculum, Creative pruduction, Local herbal learning resources
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 14

วันนี้: 678

เมื่อวานนี้: 1,300

จำนวนครั้งการเข้าชม: 971,713

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033