บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาและทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังโดยใช้แบบฝึกทักษะการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กลวิธี STAR และเปรียบเทียบกับเกณฑ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ อุบลราชธานี อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 จำนวน 36 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม จากนักเรียนทั้งหมด 7 ห้อง แล้วจับฉลากเลือกมา 1 ห้อง ระยะเวลาทดลองจำนวน 8 คาบ คาบละ 50 นาที โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One-Group Pretest-Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ t–test แบบ Dependent Samples และ One-sample t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังใช้แบบฝึกทักษะการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กลวิธี STAR เรื่อง โจทย์ปัญหาการแปรผัน สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังใช้แบบฝึกทักษะการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กลวิธี STAR เรื่อง โจทย์ปัญหาการแปรผัน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 77.59 3. ทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังใช้แบบฝึกทักษะการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กลวิธี STAR เรื่อง โจทย์ปัญหาการแปรผัน สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังใช้แบบฝึกทักษะการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กลวิธี STAR เรื่อง โจทย์ปัญหาการแปรผัน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 77.50
Abstract
The purposes of this research were to compare mathematical problem solving ability and connection skills of Mathayomsuksa II students before and after by Mathematical exercises with obtaining Cooperative learning by using the STAR strategy and to compare them to the criterion. The subject of this study were 36 Mathayomsuksa II student in the second semester of the 2020 academic year at Triam Udom Suksa Pattanakarn Ubon Ratchathani School, Ubon Ratchathani Province, Secondary Educational Service Area Office 29. They were randomly selected by you using cluster random sampling. The experiment lasted for 8 fifty minute periods. The One-Group Pretest-Posttest Design was used for the study. The data were statistically analyzed by using t-test for Dependent Sample and t-test for one Sample. The findings were as follows: 1. Mathematics problem solving ability for Mathayomsuksa II of the experimental group after by Mathematical exercises with obtaining Cooperative Learning by using the STAR steps strategy in mathematics problem solving was statistically higher than before learning at the .01 level of significance. 2. Mathematical problem solving ability for Mathayomsuksa II of the experimental group after by Mathematical exercises with obtaining Cooperative Learning by using the STAR steps strategy in mathematics problem solving was statistically higher than the 60 percent criterion at the .01 level of significance. It's mean score was as 77.59%. 3. The connection skills for Mathayomsuksa II of the experimental group after by Mathematical exercises with obtaining Cooperative Learning by using the STAR steps strategy in mathematics was statistically higher than before learning at the .01 level of significance. 4. The analytical thinking of the experimental group after by Mathematical exercises with obtaining the STAR strategy in mathematics was statistically higher than the 60 percent criterion at the .01 level of significance. It means score was as 77.50%.
คำสำคัญ
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ, กลวิธี STAR, แบบฝึกทักษะKeyword
Cooperative Learning, STAR Strategy Steps, Exercisesกำลังออนไลน์: 33
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,145
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,134
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033