...
...
เผยแพร่: 16 ม.ค. 2561
หน้า: 77-90
ประเภท: บทความวิจัย
View: 340
Download: 121
Download PDF
ผลของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับคำถามระดับสูงที่มีต่อความสามารถ ในการให้เหตุผลและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
The Effects of Active Learning Management with Higher-Order Questions on Mathematical Reasoning Ability and Achievement of Function for Mathayomsuksa 4 Students
ผู้แต่ง
ธนวรรณ นัยเนตร, พรรณทิพา ตันตินัย, เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร
Author
Thanawan Naiyanate, Pantipa Tantinai, Vetcharit Angganapattarakajorn

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับคำถามระดับสูง กับเกณฑ์ร้อยละ 70 ซึ่งเป็นแผนการวิจัยแบบศึกษากลุ่มเดียววัดหลังการทดลองครั้งเดียว (One-group posttest-only design) โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนรายวิชา ค31202 คณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนชลกันยานุกูล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำนวน 292 คน และกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/6 จำนวน 49 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับคำถามระดับสูง จำนวน 9 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชัน จำนวน 9 ข้อ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชัน จำนวน 20 ข้อ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (\bar{X}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบทีสำหรับกลุ่มตัวอย่างเดียว (t-test for one sample) ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับคำถามระดับสูง สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับคำถามระดับสูง สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The purposes of this research were to compare Mathayomsuksa 4 students’ mathematical reasoning ability and achievement on function with 70 percent criterion after obtaining instrumental active learning management with higher-order questions. The design of research was One-group posttest-only design. Population of this research was 292 Mathayomsuksa 4 students who were studying in MA31202 Additional Mathematics2 in secondary semester of 2016 school year at Chonkanyanukoon School, The Secondary Educational Service Area Office 18. The subject was 49 Mathayomsuksa 4/6 students were selected by cluster random sampling method. The instruments used in this research were: 1) 9 active learning with higher-order questions lesson plans, 2)a mathematical reasoning ability test containing 9 questions with the reliability of 0.89, and 3)a mathematical achievement test containing 20 questions with the reliability of 0.83. The data were analyzed by means (\bar{X}) standard deviation (S.D.) and t-test for one sample. The results were as follows: 

1. The mathematical reasoning ability on function for Mathayomsuksa 4 students after obtaining instrumental active learning management with higher-order questions was statistically significant higher than 70 percent criterion with a .05 level.

2. The mathematical achievement on function for Mathayomsuksa 4 students after obtaining instrumental active learning management with higher-order questions was statistically significant higher than 70 percent criterion with a .05 level.

คำสำคัญ

การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, คำถามระดับสูง, การให้เหตุผลทางคณิตศาตร์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์

Keyword

active learning, higher-order questions, mathematical reasoning ability, mathematical achievement
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 6

วันนี้: 514

เมื่อวานนี้: 600

จำนวนครั้งการเข้าชม: 789,447

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033