บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามคุณลักษณะของงานวิจัยและผลการวิจัย 2) เพื่อศึกษาสถานภาพองค์ความรู้จากผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กับขนาดอิทธิพล โดยผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากการค้นคว้าฐานข้อมูลออนไลน์ ThaiLIS (Thai Library Integrated System) ตีพิมพ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556-2560 จำนวน 60 เรื่อง จากนั้นจึงได้ศึกษาข้อมูลของวิทยานิพนธ์แต่ละเรื่องอย่างละเอียดและคัดเลือกได้ทั้งหมด 54 เรื่อง แล้วบันทึกรายละเอียดลงในแบบบันทึกงานวิจัย และนำข้อมูลที่บันทึกไว้ไปวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1. วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ทั้งหมด 54 เรื่อง พบว่า สถาบันที่ผลิตงานวิจัยมากที่สุด คือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ร้อยละ 18.5) โดยสาขาที่ศึกษาวิจัยมากที่สุด คือ สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (ร้อยละ 35.2) ผู้วิจัยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 81.5) พิมพ์เผยแพร่งานวิจัยมากที่สุดในช่วงปี พ.ศ. 2557 (ร้อยละ 29.6) ทำการวิจัยในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มากที่สุด (ร้อยละ 50) พื้นที่ที่จัดทำวิทยานิพนธ์ส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 50) ประเด็นที่ศึกษามากที่สุด คือ เพื่อเปรียบเทียบการอ่านก่อนเรียนและหลังเรียน (ร้อยละ 28.36) สมมติฐานของวิทยานิพนธ์ส่วนใหญ่เป็นแบบมีทิศทาง (ร้อยละ 83.3) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ใช้มากที่สุด การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC (ร้อยละ 11.1) 2. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จากวิทยานิพนธ์ทั้ง 54 เรื่อง พบว่า มีการใช้รูปแบบการสอน 37 แบบ โดยเรียงลำดับจากมากที่สุด ดังนี้ CIRC จำนวน 6 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 8.8 รองลงมาคือ DR-TA MIA SQ4R และอภิปัญญา จำนวน 4 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 5.9 และ KWL Plus จำนวน 3 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 4.4 ตามลำดับ3. วิทยานิพนธ์กลุ่มเป้าหมายมีค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพล เท่ากับ 3.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.31 ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด คือ 8.36 และ -0.82 ตามลำดับ โดยการทดลองเปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า การสอนแบบใช้แผนผังความคิด ส่งผลต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านมากที่สุด (ค่าอิทธิพล = 8.36) ส่วนการทดลองเปรียบเทียบกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม พบว่า การสอนแบบ KWL Plus ส่งผลต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านมากที่สุด (ค่าอิทธิพล = 2.94) ส่วนการทดลองเปรียบเทียบการสอน 2 รูปแบบ พบว่า การสอนแบบร่วมมือเทคนิค CIRC ซึ่งเปรียบเทียบกับการสอนแบบ 3Ps มีค่าขนาดอิทธิพลมากที่สุด (ค่าอิทธิพล = 3.41)
Abstract
The objectives of this research were: 1) to synthesize the studies of research on instructional models affecting English reading achievement of senior high school students according to research characteristics and findings; 2) to study the state of knowledge from the studies related to instructional models affecting English reading achievement of senior high school students; and 3) to study the relationship between instructional models affecting English reading achievement of senior high school students and effect size. The researcher gathered 54 studies related to instructional models affecting English reading achievement of senior high school students from the online database named ThaiLIS (Thai Library Integrated System), which were published during 2013–2017. Then, the researcher thoroughly studied the studies and recorded the details in research record forms. The recorded data were analyzed for statistical data. The research findings were as follows. 1. The 54 studies related to instructional models affecting English reading achievement of senior high school students showed that the institute which produced the highest number of studies was Mahasarakham University (18.5%) and most of the studies were published by the Program in Teaching English (35.2%). The majority of the researchers were female (81.5%). The highest number of studies was published in 2014 (29.6%) and was mostly conducted with Grade 11 students (50.0%). Most of the studies were conducted in the northeastern region (50.0%) and focused on the comparison between the pre- and post- test scores of reading achievement (28.36%). Most of the studies employed directional hypotheses (83.3) and the most commonly used instructional model was Cooperative Integrated Reading and Composition (CIRC) (11.1%). 2. The studies related to instructional models affecting English reading achievement of senior high school students, the highest number of was CIRC (8.8%), followed by DR-TA MIA SQ4R and and Metacognition (5.9%), and KWL Plus (4.4%), respectively. 3. The analysis of the effect size (ES) showed that the average of the ES was 3.00 and the standard deviation was 2.31. The highest and lowest average of the ES were 8.36 and -0.82, respectively. The comparison between the pre- and post-test scores concluded that the instruction using Mind Mapping affected the development of reading achievement at a very high level (ES = 8.36). The comparison between the experimental group and the control group revealed that the instruction using KWL Plus affected the development of reading achievement at a very high level (ES = 2.94). In pairwise comparison, the findings showed that CIRC when compared to 3Ps revealed the highest effect size (ES = 3.41).
คำสำคัญ
การสังเคราะห์งานวิจัย, วิเคราะห์อภิมาน, ค่าขนาดอิทธิพล, รูปแบบการจัดการเรียนการสอนKeyword
Research Synthesis, Meta-Analysis, Effect Size, Instruction Modelกำลังออนไลน์: 7
วันนี้: 162
เมื่อวานนี้: 1,202
จำนวนครั้งการเข้าชม: 972,399
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033