...
...
เผยแพร่: 30 ธ.ค. 2563
หน้า: 117-128
ประเภท: บทความวิจัย
View: 316
Download: 135
Download PDF
ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทักษะชีวิตที่จำเป็นต่อการปรับตัวสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ผ่านการจัดการเรียนรู้แบบบริการสังคมในรายวิชาศึกษาทั่วไป
Determinants of Essential Life Skills for First Year Student Throug Service Learning in General Education Course
ผู้แต่ง
จริยภัทร รัตโณภาส, กนิกนันต์ กล้าหาญ
Author
Jariyapat Rattanopas, Kaniknun Klahan

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้แบบบริการสังคมในรายวิชาศึกษาทั่วไปต่อการพัฒนาทักษะชีวิตที่จำเป็นต่อการปรับตัวสำหรับการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทักษะชีวิตที่จำเป็นต่อการปรับตัวสำหรับการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ผ่านการจัดการเรียนรู้แบบบริการสังคม โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาปี 1 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 123 คน โดยใช้แบบประเมินตนเองก่อนและหลังเรียนเป็นเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย 1) สถิติพรรณา ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) สถิติเชิงอนุมาน คือ t-test แบบ Paired Samples และ 3) แบบจำลองโทบิท (Tobit Model) ผลการวิจัย สรุปผลได้ดังนี้ 1) การจัดการเรียนรู้แบบบริการสังคมส่งผลให้เกิดการพัฒนาทักษะชีวิตที่จำเป็นต่อการปรับตัวสำหรับการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยในทักษะการตระหนักรู้ในตน ทักษะความเห็นใจผู้อื่น ทักษะการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และทักษะการสื่อสาร โดยทักษะดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากระดับปานกลางในก่อนเรียนเป็นระดับมากหลังเรียน โดยทักษะชีวิตที่จำเป็นต่อการปรับตัวสำหรับการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย 3 อันดับแรกที่ผู้เรียนได้รับการพัฒนาสูงสุด คือ ทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะความเห็นใจผู้อื่น และทักษะการตระหนักรู้ในตน ตามลำดับ และทักษะชีวิตที่จำเป็นทั้ง 6 ทักษะของผู้เรียนเพิ่มขึ้นหลังผ่านการเรียนรู้แบบบริการสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ระยะทางจากสถาบันการศึกษาไปยังชุมชน มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาทักษะชีวิตที่จำเป็นต่อการปรับตัวสำหรับการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย ทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่น และทักษะการสื่อสาร ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 90 โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางลบ ขณะที่เพศมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 90 เกรดเฉลี่ยตลอดปีการศึกษามีความสัมพันธ์กับการพัฒนาทักษะการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และทักษะการสื่อสาร ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และ 90 ตามลำดับ โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางลบ ทั้งนี้ จากการวิจัยนี้ชี้ชัดว่าการจัดการเรียนรู้แบบบริการสังคมส่งผลต่อการพัฒนาทักษะชีวิตที่จำเป็นต่อการปรับตัวสำหรับการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยสำหรับผู้เรียนในชั้นปีที่ 1 ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้และสร้างผลกระทบเชิงบวกแก่สังคมอย่างยั่งยืนได้

Abstract

The purposes of this research were 1) to study the effect of Service Learning in general education courses of first year student in the Faculty of Economics for development of essential life skills and 2) to study factors affecting essential life skills development. The sample was the first year students of the Faculty of Economics, Prince of Songkla University, academic year 2019, amount 123 people. A self-assessment questionnaire before and after studying was brought to approach in this research. Data were analyzed by using descriptive statistics (frequency, mean and standard deviation), inferential statistics (Paired Samples t-test) and Tobit model. The finding was as followed: 1) Service Learning in general education course brings about self-awareness, sympathetic, decision-making, problem-solving and communication skills. These skills increase from a moderate to a high level after Service Learning was used. Additionally the most development of top three essential life skills that the students acquired were teamwork skills, sympathy skills and self-awareness skills. Comparatively, of all essential life skills as mentioned above they increase significantly at .01 confident interval after Service Learning is used to approach. 2) The distance from the institution to the community negatively correlated with the development of essential life skills, skills to live with others and communication skills, with significance at 90 percent confidence level. While gender is significantly related to teamwork skills, with 90 percent confidence level, and GPA is significant negatively related to the decision-making and communication skills, with the confidence level of 95 and 90 percent respectively. Importantly this suggests using Service Learning having the constructive impact to learners in which all essential life skills can pave the way for future continuous education and give sustainable benefit to our society.

คำสำคัญ

การบริการสังคม, รายวิชาศึกษาทั่วไป, ทักษะชีวิตที่จำเป็น, นักศึกษาชั้นปีที่ 1

Keyword

Service Learning, General Education Course, Essential Life Skills, First Year Student
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 3

วันนี้: 274

เมื่อวานนี้: 652

จำนวนครั้งการเข้าชม: 771,879

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033