...
...
เผยแพร่: 30 ธ.ค. 2563
หน้า: 63-71
ประเภท: บทความวิจัย
View: 536
Download: 217
Download PDF
การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ใช้ภาษาถิ่น ในชีวิตประจำวัน ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
The Development of Spelling Writing Skill For Prathomsuksa 1 Students Used Local Language in Daily Life By Using Brain-Based Learning Collaborate Computer Assisted Instruction
ผู้แต่ง
ธีรารัตน์ ไกรสีขาว, ประภาษ เพ็งพุ่ม
Author
Thirarat Kraisikao, Brapaas Pengpoom

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการเขียนสะกดคำสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ใช้ภาษาถิ่นในชีวิตประจำวันตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 และ 2) เปรียบเทียบทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ใช้ภาษาถิ่นในชีวิตประจำวันก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนบ้านลาดคื้อ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการเขียนสะกดคำ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการเขียนสะกดคำ และแบบทดสอบเรื่องการเขียนสะกดคำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าประสิทธิภาพ E1/E2 (80/80) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติทดสอบค่าที (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการเขียนสะกดคำ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.84/93.13 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ คือ 80/80 ทั้งนี้เนื่องจากนักเรียนสามารถทบทวนความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ได้ตลอดเวลา จึงส่งผลให้ผลการทำแบบทดสอบของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนระหว่างเรียน 2. ทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The purposes of this research were 1) to find the effectiveness of computer assisted instruction in the topic of spelling writing for Prathomsuksa 1 students used local language in daily life to meet the criteria set at 80/80.      2) to compare spelling writing skill of Prathomsuksa 1 students used local language in daily life before and after using brain–based learning collaborate computer assisted instruction. The sample group was conducted under the purposive sampling technique and consisted of 12 students in Prathomsuksa 1 at Ladkue School, Nakhonthai, Phitsanulok Province during the second semester of 2019 academic year. The instruments of this research were 1) Thai lesson plans in the topic of writing spelling using brain–based learning approach 2) computer assisted instruction in the topic of writing spelling. And 3) Pretest-Posttest Test topic spelling writing skill. Statistics used for data analyses were the efficiency E1/E2 (80/80), mean, standard deviation and t–test dependent. The findings of the research were that: 1. The learning achievement of the writing spelling skill of students representative sample. The study score was 86.84/93.13 which was higher than the criteria set at 80/80. Because student can learn by themselves all time that they want. The score posttest higher than pretest. 2. The learning achievement of the writing spelling skill of Prathomsuksa 1 students had posttest score higher than pretest score at the statistically significant level at .05.

คำสำคัญ

เขียนสะกดคำ, การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน, บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

Keyword

Spelling Writing, Brain–Based Learning, Computer Assisted Instruction
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 18

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 1,225

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,214

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033