บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบไฮสโคปด้วยกิจกรรมเกมการศึกษา และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบไฮสโคปด้วยกิจกรรมเกมการศึกษา วิธีดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 1) สร้างและพัฒนาเครื่องมือในงานวิจัย และ 2) ทดลองใช้กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบไฮสโคปด้วยกิจกรรมเกมการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัย ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนวาริชภูมิพิทยาคาร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 18 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบไฮสโคป 2) เกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐาน 3) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดพื้นฐาน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบไฮสโคปด้วยกิจกรรมเกมการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (Dependent samples t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ทักษะการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบไฮสโคปด้วยกิจกรรมเกมการศึกษาที่พัฒนาขึ้นหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. เด็กปฐมวัยมีความพึงพอใจต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบไฮสโคปด้วยกิจกรรมเกมการศึกษาอยู่ในระดับมาก ( = 2.64, S.D. = 0.48)
Abstract
The purposes of this research were: 1) to develop basic thinking skills of student learning experiences on HighScope Learning Approach with educational games and 2) to study the effects of the learning-teaching on HighScope concept with educational game. The research study was composed 2 stages as flow were: 1) Creating and developing tools research and 2) tryout of the created learning on HighScope Learning Approach with educational game. The Experimental group ware divided into 18 kindergarten 2 students who were studying in the second semester of 2019 academic year at Waritchaphumpitayakhan School. These subjects were obtained through cluster random sampling. The instruments employed for the study consisted were: 1) a plan for learning experiences HighScope concept with educational games, 2) an educational games basic thinking skills, 3) a form to measure the students’ basic thinking skills, 4) a satisfaction questionnaire. The statistics adopted included average, percentage, standard deviation, t-tests (Dependent samples t-test). The findings of the study were as follows: 1. The basic thinking skills students their achievement was statistically higher than that of before at .01 level of significance. 2. The satisfaction the students was at the high level ( = 2.64, S.D. = 0.48).
คำสำคัญ
ทักษะการคิดพื้นฐาน, การเรียนรู้แบบไฮสโคป, เกมการศึกษาKeyword
Basic thinking skills, HighScope learning approach, Educational gamesกำลังออนไลน์: 27
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,153
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,142
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033