...
...
เผยแพร่: 30 ธ.ค. 2563
หน้า: 1-11
ประเภท: บทความวิจัย
View: 376
Download: 199
Download PDF
การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อการรู้สารสนเทศสำหรับนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบุณฑริก
Development of an Enrichment Curriculum for Information Literacy of Senior High School Students of Buntharik District Non-Formal and Informal Education Centre
ผู้แต่ง
ธีรศักดิ์ แก่นต้น, ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์
Author
Teerasak Khanton, Bhumbhong Jomhongbhibhat

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อการรู้สารสนเทศ สำหรับนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรเสริมที่พัฒนาขึ้น ดังนี้ 2.1 ศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรเสริมตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2.2 เปรียบเทียบความสามารถในการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่เรียนด้วยหลักสูตรเสริมก่อนเรียนและหลังเรียน 2.3 ศึกษาเจตคติต่อการเรียนโดยใช้หลักสูตรเสริมหลังเรียน ของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลโพนงาม (กศน.ตำบลโพนงาม) สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบุณฑริก สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 30 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แบบวัดความสามารถในการรู้สารสนเทศ แบบวัดเจตคติต่อการเรียนโดยใช้หลักสูตรเสริม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีชนิดกลุ่มสัมพันธ์กัน (t-test แบบ Dependent samples) ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักสูตรเสริมที่พัฒนาขึ้นมี 6 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการของหลักสูตรเสริม 2) จุดหมายของหลักสูตรเสริม 3) เนื้อหาของหลักสูตรเสริม 4) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5) สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ 6) การวัดและประเมินผล โดยมีโครงสร้างเนื้อหา 5 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ (1) ปฐมนิเทศ (2) สารสนเทศและแหล่งข้อมูลที่น่าศึกษา (3) ประเมินสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ (4) ใช้สารสนเทศและแหล่งข้อมูลอย่างสร้างสรรค์ และ (5) ปัจฉิมนิเทศ ใช้เวลาเรียนทั้งหมด 30 ชั่วโมง 2. ผลการใช้หลักสูตรเสริมที่พัฒนาขึ้น มีดังนี้ 2.1 หลักสูตรเสริม มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 88.50/86.78 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 2.2 ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการรู้สารสนเทศของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.3 ค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติต่อการเรียนโดยใช้หลักสูตรเสริมเพื่อการรู้สารสนเทศ อยู่ในระดับมาก (\bar{x} = 4.36, S.D. = 0.74)

Abstract

The purposes of research were to 1) development of an enrichment curriculum for Information literacy of senior high school students 2) investigate the effects of using the developed enrichment curriculum 2.1 study the efficiency of the developed enrichment curriculum on criterion of 80/80 2.2 compare information literacy of senior high school students studying with enrichment curriculum before and after learning 2.3 study attitude towards learning by using an enrichment curriculum after study for senior high school students. The sample group is the senior high school students of Non-formal and informal education, Phon Ngam Subdistrict, Phon Ngam Sub-district under the Non-Formal and Informal Education Center, Buntharik District, Office of Non-Formal and Informal Education, Ubon Ratchathani Province. The samples were obtained through cluster random sampling 30 students. Data were analyzed by using quantitative and qualitative analysis. The instruments used in the experiment were information literacy abitity test and a test of attitude Learning data. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and t-test for Dependent samples. The research findings were as follows: 1. The developed curriculum consists of 6 topics which were 1) the principles of an enrichment curriculum 2) the objectives of an enrichment curriculum 3) the content of an enrichment curriculum 4) the organization of learning activities 5) media and learning resources 6) measurement and evaluation The result is a structure of 5 broad learning units (1) orientation (2) information and interesting resources (3) evaluate information (4) use information and resources creatively and (5) post supervision. The course takes 30 hours. 2. The results of using an enrichment curriculum developed as follows 2.1 Enrichment curriculum the efficiency was equal to 88.50/86.78, which was higher than the specified criteria 80/80. 2.2 The mean of the information literacy ability of students before and after studying showed that the scores after studying were significantly higher than before at the .01 level. 2.3 Mean score of attitude towards learning by using the enrichment curriculum for information literacy at a high level (\bar{x} = 4.36, S.D. = 0.74).

คำสำคัญ

การรู้สารสนเทศ, หลักสูตรเสริม, นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

Keyword

Information literacy, Enrichment curriculum, Senior High School Students
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 6

วันนี้: 181

เมื่อวานนี้: 522

จำนวนครั้งการเข้าชม: 797,329

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033