...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2563
หน้า: 123-131
ประเภท: บทความวิจัย
View: 465
Download: 199
Download PDF
ผลการเรียนรู้จากการตรวจร่างกายในหุ่นจำลองเสมือนจริงของนักศึกษาพยาบาล
The Learning Achievement from Physical Examination by Using Simulation in Nursing Students
ผู้แต่ง
ทรงสุดา หมื่นไธสง, พิริยากร คล้ายเพ็ชร, นิรุธ มะโนมัย, จงกลณี ตุ้ยเจริญ, พลอยลดา ศรีหานู, สรัญญา เปล่งกระโทกุ, รุ่งทิพย์ พรหมบุตร
Author
Songsuda Muenthaisong, Piriyakorn Klaypeth, Nirut Manomai, Jongkolnee Tuicharuen, Ploylada Srihanoo, Saranya Plengkratoke, Rungtip Promboth

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้จากการตรวจร่างกายในหุ่นจำลองเสมือนจริงของนักศึกษาพยาบาล ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2 จำนวน 123 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาประเมินภาวะสุขภาพภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2560 เครื่องมือการวิจัย Meti-man Simulation แบบบันทึกการตรวจร่างกายตามระบบ วิธีดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมการ มีการประชุมทีมอาจารย์และผู้เกี่ยวข้อง เตรียมห้องเรียน ทดลองใช้หุ่นจำลอง ออกแบบการวัดและประเมินผล แบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มเรียนใน 3 ฐาน ใช้เวลารวม 40 นาที 2) ขั้นดำเนินการ มีการสอน 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นปฐมนิเทศ (2) ขั้นเตรียมการปฏิบัติอย่างมีส่วนร่วม (3) ขั้นลงมือปฏิบัติ และ (4) ขั้นประเมินผลการปฏิบัติ การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาโดยการวิเคราะห์ด้วยสถิติร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและสรุป ผลการวิจัยพบว่า สามารถตรวจร่างกายได้ถูกต้อง ได้แก่ ระบบหัวใจ ระบบช่องท้อง ระบบประสาท และระบบทรวงอกและปอด คิดเป็นร้อยละ 91.6, 91.6, 60.8 และ 27.5 ตามลำดับ นักศึกษาพยาบาลมีความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาระดับมาก (\bar{x} = 4.36 S.D. = .22) ข้อเสนอแนะ (1) ควรลดจำนวนผู้เรียนให้มีกลุ่มขนาดเล็กลง (2) ปรับสถานการณ์ในการจัดการเรียนรู้หุ่นจำลองให้แตกต่างกันโดยเพิ่มสถานการณ์ในหุ่นให้มีความแตกต่างกันการจัดการเรียนรู้ให้มีความซับซ้อนซับซ้อนเพื่อเพิ่มประสบกาณ์ของผู้เรียน

Abstract

This Classroom action research aimed to study nursing students’ learning achievement gained from studying physical examination using simulation. Sample was second-year nursing students at Boromarajonani College of Nursing, Khon Kaen in academic year 2017. Purposive sampling was used to recruit 123 subjects. Research instruments consisted of physical examination form. Research methods; the students were grouped into 5, studied in 3 bases consuming 40 minutes for physical examination using simulation. The simulation model had four phases: 1) Orientation: pre–brief, 2) Participant training, 3) Simulation operations to practice physical examination with simulation 4 systems, 4) Participant debriefing. Data were analyzed using descriptive statistic. The qualitative data were analyzed by content analysis. The results were as follows; 1) The students were satisfaction in the inquiry skill. 2) They were able to physical examination correctly in nerve system, heart, abdomen and breathing system, accounted for 91.6, 91.6, 60.8, 27.5 respectively. Suggestion, should minimize the students into smaller group for thoroughly learning, and the situations in simulation should be adjusted to be different, and  complicated to enhance the students’ experience.

คำสำคัญ

ผลการเรียนรู้, การตรวจร่างกาย, หุ่นจำลองเสมือนจริง

Keyword

The learning achievement, Physical examination, Simulation
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 9

วันนี้: 104

เมื่อวานนี้: 652

จำนวนครั้งการเข้าชม: 771,709

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033