...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2563
หน้า: 113-122
ประเภท: บทความวิจัย
View: 930
Download: 230
Download PDF
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง โดยใช้รูปแบบ การสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
The Development of Instructional Activities in Biology Entitled Photosynthesis using Inquiry (5E) integrated with Collaborative Learning Approach for Mathayomsuksa 5 Students
ผู้แต่ง
สุกันดา พรหมนิล, ธนานันต์ กุลไพบุตร, อุษา ปราบหงษ์
Author
Sukanda Prommanil, Thananan Kunpaibutr, Usa Prabhong

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพกิจกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เรื่อง การสังเคราะห์ ด้วยแสง โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 3) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดบึงเหล็ก ในพระบรมราชานุเคราะห์ อำเภอธาตุพนม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 25 คน ซึ่งได้มา โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ แบบแผนการวิจัยใช้รูปแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียน–หลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง วิชาชีววิทยา โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) 78.95/78.10 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 75/75 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก

Abstract

The purposes of this research were: 1) to develop and determine an efficiency index of the Biology learning activities on Photosynthesis using an inquiry cycle (5E) integrated with a collaborative learning approach for Mathayomsuksa 5 students to meet a set criteria of 75/75, 2) to compare the students’ learning achievement before and after learning through the developed learning activities, 3) to compare the students’ analytical thinking before and after the intervention, and 4) to examine student satisfaction toward learning through the developed learning activities. The samples were 25 Mathayomsuksa 5 students who were studying in the first semester of academic year 2019 at Watbuenglek School under the Royal Patronage of His Majesty the King under the Secondary Educational Service Area Office 22. They were obtained through a cluster random sampling using the classroom as a sampling unit. The research instruments comprised seven lesson plans, learning achievement test, analytical thinking test, student satisfaction evaluation form of learning from the developed learning activities.  A “One Group Pretest Design” was utilized in this study. Statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and samples t-test for dependent Sample. The findings were as follows: 1. The Biology learning activities on the Photosynthesis using inquiry cycle (5E) integrated with collaborative learning for Mathayomsuksa 5 students had an efficiency of 78.95/78.10, which was higher than the set criteria of 75/75. 2. The student learning achievement after the invention was higher than that of before the intervention, at a .01 level of significance. 3. The students’ analytical thinking after the intervention was higher than that of before, at a .01 level of significance. 4. The students’ satisfaction toward learning through the developed learning activities was at the highest level.

คำสำคัญ

กิจกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยา, รูปแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E), การเรียนรู้แบบร่วมมือ

Keyword

Learning Activities, Inquiry Cycle (5E), Collaborative Learning
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 16

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 1,194

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,183

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033